Abstract:
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ วิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และสร้างเกณฑ์ปกติของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกลุ่มรวม และจำแนกเพศและชั้นปี
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 29,330 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 2,500 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือระดับ 1-5 ไม่จริง-จริง จำนวน 27 ข้อซึ่งแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบได้แก่ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ (Altruism) พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ (Conscientiousness) พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น (Sportsmanship) พฤติกรรมการคำนึงถึง ผู้อื่น (Courtesy) และพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ (Civic Virtue)
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการหาค่าเปอร์เซ็นไทล์
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่าแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีค่าความเชื่อมั่นของ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นและให้ความช่วยเหลือ .822 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ .786 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ .712 พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น .682 และทั้งฉบับ .904
2. ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่า แบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นและให้ความช่วยเหลือ อยู่ระหว่าง .455 - .589 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ อยู่ระหว่าง .479 - .596 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ อยู่ระหว่าง .342 - .500 พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น อยู่ระหว่าง .357 - .514 และทั้งฉบับอยู่ระหว่าง .352 - .573
3. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่ 1 พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นละให้ความช่วยเหลือ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 29.584 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ องค์ประกอบที่ 2 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.721 ของความแปรปรวนทั้งหมดของ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ องค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.375 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และองค์ประกอบที่ 4 พฤติกรรมความอดกลั้น อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.152 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 45.831 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
4. เกณฑ์ปกติของคะแนนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ได้แบ่งเกณฑ์เป็น 3 ระดับตามช่วงของค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ คือ ช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ต่ำกว่า 25 จัดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ตั้งแต่ 25 ถึง เปอร์เซ็นต์ไทล์ 75 จัดอยู่ในระดับระดับเกณฑ์เฉลี่ย และช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์สูงกว่า 75 จัดอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยมีการหาเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์ทั้งฉบับและแต่ละด้านของกลุ่มนิสิตทั้งหมด กลุ่มตามเพศ และกลุ่มตามชั้นปี ทำให้สามารถนำแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไปใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแปลความหมายของคะแนนเชิงเปรียบเทียบในกลุ่มต่างๆ