dc.contributor.author |
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:04:30Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:04:30Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1379 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตสาขาการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 คณะศึกษาศาสตร์ หมาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9331 และแบบสัมภาษณ์เพื่อเพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า
นิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในกลุ่มที่ 3 มากที่สุด (ร้อยละ 37.55) กล่าวคือ นิสิตสามารถตอบคำถามถูกต้องอย่างสมบูรณ์โดยอาศัยการอธิบายมีการอ้างอิงความรู้และความสัมพันธ์เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สนับสนุนคำตอบบ้างแต่ไม่ชัดเจน หรือสามารถตอบคำถามถูกต้อวอย่างสมบูรณ์แต่การอธิบายใช้การอ้างอิงความรู้เชิงขั้นตอนหรือกระบวนการทางคณิตศาสตร์มาสนับสนุนคำตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล และเมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นปี พบว่า
นิสิตชั้นปีที่ 1 มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในกลุ่มที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 37.82) กล่าวคือ นิสิตสามารถตอบคำถามถูกต้องหรือตอบถูกต้องบางส่วนและพยายามอธิบายโดยอ้างอิงความรู้และความสัมพันธ์เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์มาสนับสนุนคำตอบ แต่ไม่ถูกต้อง หรือสามารถตอบคำถามถูกต้องหรือตอบถูกต้องบางส่วน และพยายามอธิบายใช้การอ้างอิงความรู้เชิงขั้นตอนหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนคำตอบแต่ไม่ถูกต้อง หรือ สามารถตอบถูกต้องหรือตอบถูกต้องบางส่วนแต่ไม่มีการอธิบายให้เหตุผลประกอบ
นิสิตชั้นปีที่ 2 3 และ 4 มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในกลุ่มที่ 3 มากที่สุด (ร้อยละ 36.59, ร้อยละ 33.73 และร้อยละ 42.23 ตามลำดับ) กล่าวคือ นิสิตสามารถตอบคำถามถูกต้องอย่างสมบูรณ์โดยการอธิบายมีการอ้างอิงความรู้และความสัมพันธ์เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สนับสนุนคำตอบบ้างแต่ไม่ชัดเจน หรือสามารถตอบคำถามถูกต้องอย่างสมบูรณ์แต่การอธิบายใช้การอ้างอิงความรู้เชิงขั้นตอนหรือกระบวนการทางคณิตศาสตร์มาสนับสนุนคำตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนในการทำวิจัยจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2557 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
มโนทัศน์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
A study on mathematical concepts of mathematics major students |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of the study was to investigate mathematical concepts of mathematics major students. The research populations were 148 of first year to fourth year student majoring in mathematics at Faculty of Education, Burapha University. The research instruments were a test of mathematical concepts having a reliability of 0.9331 and an interview. The overall research findings revealed that:
The mathematical concepts of the mathematics major students (37.55%) were most classified into group three. That is the students were able to answer the question correctly but they raised mathematical concept with unclear explanation to support their answer, or the students were able to answer the questions correctly and to support their answer with procedural knowledge logically. The in-depth analysis of the research results showed that:
The first year students’ mathematical concepts (37.82%) were most classified into group two. That is to say the students gave the correct answer or the partially correct answer but mathematical concepts raised to support their answer were incorrect, or they gave the correct answer or the partially correct answer but procedural knowledge employed to support their answer was incorrect, or they gave the correct answer or the partially correct answer without any support to their answer.
The second year, third year and fourth year students’ mathematical concepts were most classified into group three (36.59%, 33.37% and 42.23 respectively). That is the students were able to answer the questions correctly but they raised mathematical concepts with unclear explanation to support their answer, or the students were able to answer the questions correctly and to support their answer with procedural knowledge logically |
en |