DSpace Repository

สิ่งคุกคามทางอาชีวอนามัยและผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย เทศกะทึก
dc.contributor.author วัลลภ ใจดี
dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:27Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:27Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1337
dc.description.abstract ศึกษาภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งคุกคามทางอาชีวอนามัยและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารแช่แข็ง ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จำนวน 456 คน และ ผู้ประกอบอาชีพคนไทยในสำนักงาน เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 323 คน ทำการเดินสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และ สัมภาษณ์อาการผิดปกติจาการทำงานในสภาพอากาศที่มีความเย็น ความร้อน เสียงดัง สารระคายเคือง และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผลการศึกษาพบว่าแรงงานทั้งหมด จำนวน 779 คน เป็นแรงงานข้ามชาติ จำนวน 456 คน (58.40) จำแนกเป็นชาวพม่า (29.20%) กัมพูชา (29.20%) และชาวไทย (41.46%) แรงงานข้ามชาติอายุเฉลี่ย 27.8 (+/- 6.64 ปี) ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (34.87%) สถานภาพโสด (44.30%) ระยะเวลาในการทำงานระหว่าง 1-5 ปี (51.54%) ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน (81.58%) ทำงานล่วงเวลา (81.0%) แรงงานไทยส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงาน (80.70%) คลังสินค้า (19.30%) แรงงานกัมพูชาส่วนใหญ่ทำงานในแผนกปอกเปลือก (54.60%) แรงงานพม่า ส่วนใหญ่ทำงานในแผนกแกะผ่า (52.20%) ตามลำดับ ผลการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานพบว่า มีอุณหภูมิระหว่าง -18.0-27.3 องศาเซลเซียส ระดับเสียงดังเกิน 85 dBA คือ แผนกแกะผ่าและห้องต้ม พบการสัมผัสสารคลลอรีนเกือบทุกแผนก การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี REBA และ RULA พบความเสี่ยงระดับสูงในแผนกต้ม ซึ่งควรดำเนินการแก้ไขโดยด่วน จากการวิเคราะห์อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างพบว่า งานปอกเปลือกมีอาการปวดคอ (OR 2.486; 95%Cl 1.666 – 3.71) ปวดไหล่ (OR 4.437; 95% Cl 1.975 -9.965) ปวดหลังส่วนบน (OR 2.779; 95%Cl 1.778 -4.345) ปวดหลังส่วนล่าง (OR 2.134; 95%Cl 1.013 -4.497) ปวดข้อมือและมือ (OR3.063; 95%Cl 1.348 – 6.96) งานแกะผ่า มีอาการปวดคอ (OR 142.74; 95%CL 19.512 – 1044.273) งานคัดขนาด มีอาการปวดไหล่ (OR 2.99; 95%Cl 1.225-7.298) ปวดหลังส่วนบน (OR 2.469; 95%Cl 1.277 – 4.772) ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานมีอาการปวดคอ (OR 2.547; 95%Cl: 1.769-3.668) ปวดไหล่ (OR 2.14; 95% Cl 1.482-3.089) ปวดหลังส่วนบน (OR 2.609; 95%Cl 1.798 -3.785) จากการวิเคราะห์อาการผิดปกติจากความเย็นพบว่า ผู้ปฏิบัติงานแผนกคลังสินค้ารู้สึกเย็นทั่วร่างกาย (OR 3.57; 95% Cl 1.7-7.44) ปวดนิ้วมือ นิ้วเท้า ใบหน้า หลังกล้ามเนื้อ (OR 7.16; 95% Cl 2.061 -24.877) มือ เท้า นิ้วมือ นิ้วเท้าไวต่อความเย็นง่าย (OR 2.665 95% Cl 1.39-5.11) ส่วนการวิเคราะห์อาการผิดปกติจากสารคลอรีน พบว่า เพศหญิงมีอาการแสบผิวหนังมากกว่าเพศชาย (OR 1.914; 95%Cl 0.949 -3.863) มีอาการหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก (OR 8.071 95% Cl 1.578-41.282) งานต้มมีอาการแสบผิวหนัง (OR 3.258 95% Cl 1.208-8.79) หายใจไม่สะดวก (OR3.861; 95%Cl 1.277-11.677) เป็นต้น งานวิจัยนี้พบผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติใน 3 ประเด็นหลักคือ การยศาสตร์ ความเย็น ความเครียดและการระคายเคืองจากคลอรีน โดเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกแกะ แผนกต้มและในแรงงานเพศหญิง การเก็บข้อมูลโดยใช้ล่ามอาจทำให้คำตอบที่ได้มีข้อจำกัด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แรงงานข้ามชาติ th_TH
dc.subject อาชีวอนามัย th_TH
dc.subject อาหารแช่แข็ง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title สิ่งคุกคามทางอาชีวอนามัยและผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง th_TH
dc.title.alternative The Occupational Health Hazards and effects Among Factory Migrant Workers in Frozen Food Nanafacturing Factories. th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The aim of the study was to explore adverse health effects resulted from exposure to occupational health hazards among migrant workers in the frozen food manufacturing factories. The study subjects were 456 migrant workers, whereas, 323 Thai office workers served as the controls. Environmental monitoring, ergonomic evaluation, and symptom interview were conducted. The study revealed that from the total of 779 subject, 456 (58.40%) were migrant workers which Consisted of Myanmar (29.20%), Cambodian (29.20%), and Thai (41.46%). The mean age of these migrant workers was 27.8(+/- 6.64) years old. They finished elementary education (34.87%), and were single (44.30%). Duration of working experience was 1-5 years (51.54%). They worked 6 days per week (81.58%), and overtime (81.0%). The majority of the Thai workers worked in the office 980.70%), whereas, the Cambodians were in shredding section (54.90%), and the Myanmar in cutting section (52.20%). Data analysis in regards to musculoskeletal disorders indicated that peeling section had neck pain (OR 2.486, 95% Cl 1.666-3.71), shoulder pain (OR 4.4.7; 95%Cl 1.975-9.965), upper back pain (OR 2.779; 95%Cl 1.778-4.345) lower back pain (OR 2.134; 95%Cl 1.013-4.497) wrist and hand pain (OR 3.063; 95%Cl 1.348-6.96) (OR 2.99, 95%Cl 1.975-9.65); cutting section had shoulder pain (OR 142.74,95% Cl19.512-1044.273) upper back pain (OR 2.469; 95%Cl 1.277-4.772); And those having job stress had neck pain (OR 2.547; 95%Cl: 1.769-3.668) shoulder pain (OR 2.14; 95% Cl 1.482-3.089), and upper back pain (OR 2.609; 95%Cl 1.798-3.785) In terms of cold stress symptoms; warehouse section had whole body chill (OR 3.57; 95%Cl 1.7-7.44), finger, toe, face, back, and muscle pain (OR 7.16; 95%Cl 2.061-24.877). hand, foot, finger, and toe sensitive to cold (OR 2.665 95% Cl 1.39-5.11) Regarding chlorine effects, female had skin burning sensation than male (OR 1.914; 955Cl 0.949-3.863), and difficulty in breathing or chest tightness (OR 8.071 95% Cl 1.578-41.282); boiling section had skin burning sensation (OR 3.258 95%Cl 1.208-8.79), and difficulty in breathing (OR 3.861; 95% Cl 1.277-11.677). The authors suggest that adverse health effects among these migrant workers are mainly related to ergonomic, cold stress, occupational stress, and chlorine irritation within cutting and boiling sections, and among female workers. Data collection by using the interpreters is the limitation of this study. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account