Abstract:
ศึกษาภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งคุกคามทางอาชีวอนามัยและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารแช่แข็ง ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จำนวน 456 คน และ ผู้ประกอบอาชีพคนไทยในสำนักงาน เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 323 คน ทำการเดินสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และ สัมภาษณ์อาการผิดปกติจาการทำงานในสภาพอากาศที่มีความเย็น ความร้อน เสียงดัง สารระคายเคือง และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ผลการศึกษาพบว่าแรงงานทั้งหมด จำนวน 779 คน เป็นแรงงานข้ามชาติ จำนวน 456 คน (58.40)
จำแนกเป็นชาวพม่า (29.20%) กัมพูชา (29.20%) และชาวไทย (41.46%) แรงงานข้ามชาติอายุเฉลี่ย
27.8 (+/- 6.64 ปี) ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (34.87%) สถานภาพโสด (44.30%) ระยะเวลาในการทำงานระหว่าง 1-5 ปี (51.54%) ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน (81.58%) ทำงานล่วงเวลา
(81.0%) แรงงานไทยส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงาน (80.70%) คลังสินค้า (19.30%) แรงงานกัมพูชาส่วนใหญ่ทำงานในแผนกปอกเปลือก (54.60%) แรงงานพม่า ส่วนใหญ่ทำงานในแผนกแกะผ่า
(52.20%) ตามลำดับ
ผลการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานพบว่า มีอุณหภูมิระหว่าง -18.0-27.3 องศาเซลเซียส
ระดับเสียงดังเกิน 85 dBA คือ แผนกแกะผ่าและห้องต้ม พบการสัมผัสสารคลลอรีนเกือบทุกแผนก การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี REBA และ RULA พบความเสี่ยงระดับสูงในแผนกต้ม ซึ่งควรดำเนินการแก้ไขโดยด่วน
จากการวิเคราะห์อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างพบว่า งานปอกเปลือกมีอาการปวดคอ (OR 2.486; 95%Cl 1.666 – 3.71) ปวดไหล่ (OR 4.437; 95% Cl 1.975 -9.965) ปวดหลังส่วนบน (OR 2.779; 95%Cl 1.778 -4.345) ปวดหลังส่วนล่าง (OR 2.134; 95%Cl 1.013 -4.497) ปวดข้อมือและมือ (OR3.063; 95%Cl 1.348 – 6.96) งานแกะผ่า มีอาการปวดคอ (OR 142.74;
95%CL 19.512 – 1044.273) งานคัดขนาด มีอาการปวดไหล่ (OR 2.99; 95%Cl 1.225-7.298) ปวดหลังส่วนบน (OR 2.469; 95%Cl 1.277 – 4.772) ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานมีอาการปวดคอ
(OR 2.547; 95%Cl: 1.769-3.668) ปวดไหล่ (OR 2.14; 95% Cl 1.482-3.089) ปวดหลังส่วนบน
(OR 2.609; 95%Cl 1.798 -3.785)
จากการวิเคราะห์อาการผิดปกติจากความเย็นพบว่า ผู้ปฏิบัติงานแผนกคลังสินค้ารู้สึกเย็นทั่วร่างกาย (OR 3.57; 95% Cl 1.7-7.44) ปวดนิ้วมือ นิ้วเท้า ใบหน้า หลังกล้ามเนื้อ (OR 7.16; 95% Cl 2.061 -24.877) มือ เท้า นิ้วมือ นิ้วเท้าไวต่อความเย็นง่าย (OR 2.665 95% Cl 1.39-5.11)
ส่วนการวิเคราะห์อาการผิดปกติจากสารคลอรีน พบว่า เพศหญิงมีอาการแสบผิวหนังมากกว่าเพศชาย (OR 1.914; 95%Cl 0.949 -3.863) มีอาการหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก (OR 8.071 95% Cl 1.578-41.282) งานต้มมีอาการแสบผิวหนัง (OR 3.258 95% Cl 1.208-8.79) หายใจไม่สะดวก
(OR3.861; 95%Cl 1.277-11.677) เป็นต้น
งานวิจัยนี้พบผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานข้ามชาติใน 3 ประเด็นหลักคือ การยศาสตร์
ความเย็น ความเครียดและการระคายเคืองจากคลอรีน โดเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกแกะ แผนกต้มและในแรงงานเพศหญิง การเก็บข้อมูลโดยใช้ล่ามอาจทำให้คำตอบที่ได้มีข้อจำกัด