Abstract:
จากการหาชนิดและปริมาณกรดไขมันในฟองน้ำทะเลบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2555 ทำการแยกกลุ่มของไขมันในตัวอย่างฟองน้ำด้วยเทคนิค Solid phase extraction (SPE) จากนั้นหาชนิดและปริมาณกรดไขมันด้วย GC/FID ผลการศึกษาพบปริมาณไขมันรวมอยู่ในช่วงร้อยละ 0.14-0.23 น้ำหนักสด ปริมาณสูงสุดพบในตัวอย่างฟองน้ำ Spheciospongia vagabunda order Hadromerida โดยที่ไขมันที่พบมากที่สุดเป็นชนิด neutral lipid (31.97-39.295 of crude lipids). และองค์ปะกอบกรดไขมันในตัวฟองน้ำทะเล Spheciospongia vagabunda เป็นชริดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs= 20.98%; C20:5n3 และ C18:3n3) โดยพบกรดไขมัน Arachidonic acid (C20:4n6) ปริมาณสูงสุด 10.14+-0.04%TFA ส่วนตัวอย่าง Biemna fortis มีคุณลักษณะเด่นเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs=21.32%; C16:0, C14:0 และ C18:0) ส่วนกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 (EPA, DHA) จากตัวอย่างฟองน้ำ Spheciospongia vagabunda และตัวอย่าง Biemna fortis พบในประมาณร้อยละ 3.02-3.04, 1.46-20.2 ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่คัดแยกจากฟองน้ำทะเล Spheciodpongia vagabunda พบคุณลักษณะกรดไขมันแบ่งออกเป้น 3 กลุ่ม โดยเชื้อ TAO-A-1-1Br, TAO-A-A-1-2y มีคุณลักษณะเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs; C17:1, C18:1n9) เชื้อ TAO-A-1-3g มีคุณลักษณะเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs; C18:3n3) ส่วน TAO-A-1-5, TAO-A-1-8, TAO-A-1-9, TAO-A-1-11w, TAO-A-1-12or มีคุณลักษณะเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs; C16:0, C18:0) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า เชื้อที่ควรนำไปพัฒนาต่อ ได้แก่ เชื้อ TAO-a-1-3-5 ที่ตรวจพบกรดไขมัน &-Linolenic acid (ALA; C18:3n3) ในปริมาณที่สูง (16.26+-0.04ว 8.20+-0.38TFA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญเนื่องจากเป้น parent compound ของ omega-3