dc.contributor.advisor |
สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ |
|
dc.contributor.advisor |
บุญเชิด หนูอิ่ม |
|
dc.contributor.author |
อนุตตรา มาลาวาล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T06:51:23Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T06:51:23Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12785 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตลักษณ์ และการดำรงอยู่ของชุมชนคาทอลิก อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นชาวคาทอลิกในชุมชน คุณพ่อเจ้าอาวาส คณะซิสเตอร์ บราเดอร์ และคณะกรรมการสภาภิบาลวัดคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach)
ผลการวิจัยพบว่า มะพร้าว คือ เสาหลักทางเศรษฐกิจของชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่น การทำสวนมะพร้าวคืออาชีพหลักของชาวชุมชน ริเริ่มการปลูกโดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ ชาวชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนกลายมาเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนทสังคมมองเห็นได้
ชัดเจนที่สุด และอัตลักษณ์ที่สำคัญโดดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ จิตวิญญาณความเป็นคาทอลิกของคนในชุมชน โดยมีรากฐานมาจากศาสนา ชาวชุมชนได้ยึดหลักคำสอนของพระคริสต์เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ถึงแม้ระบบนิเวศทางกายภาพจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ระบบนิเวศทางจิตใจนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงให้ความสำคัญกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง
ตาย บาทหลวงตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันปกครองชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวกโดยใช้หลักการอภิบาล (Pastoral care) ทั้งยังสร้างความโปร่งใสในการทำงาน เน้นคุณธรรมความซื่อสัตย์ เป็นหลักในการปกครองสังคมชุมชนคาทอลิกแห่งนี้ชาวชุมชนมีการดำรงอยู่ร่วมกับเพิ้นต่างศาสนาได้อย่างมีสัมพันธภาพที่ดี สามารถประพฤติตนได้สอดคล้องกับแนวคิด ศาสนสัมพันธ์ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ โดยยึดจิตตารมณ์ ความรัก ความเป็นพี่น้องกันเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน รับรู้คุณค่าที่มีในศาสนาของกันและกัน และร่วมมือกันสร้างสรรค์ภราดรภาพและสันติภาพ
ในสังคม อันนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.subject |
นิกายคาทอลิก -- ไทย -- สมุทรสงคราม -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
|
dc.subject |
อัตลักษณ์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา |
|
dc.title |
อัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม |
|
dc.title.alternative |
The identity and the existence of the nativity of our lady's cathedral in the Bangkok-khuek community, Samutsongkhram province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to study identity and existence of the Nativity of Our Lady’s Cathedral in the Bangnok-Khuek Community, Samutsongkhram Province. The sample group in this research has been Catholics in the community, The Brother Prelate, group of sisters
and brothers, and the committee of the Pastoral Council of Cathedral, the Nativity of Our Lady’s Cathedral in the Bangnok-Khuek Community, using qualitative approach. The finding of the research result indicated that coconut has been the economic stake of Bangnok-Khuek Community of the Nativity of Our Lady’s Cathedral, since coconut has been the locality’s crop. The coconut gardening has been the main occupation of the community people. Brother Paolo Salmon was the initiator of this cultivation. The incomes can be generated to the community people since the past until present and it has become the most obvious and visible identity of the community. Another outstanding and significant identity has been the Catholic being spirit of the people in the community with basis from religion. The community
people have adhered to the Christianity’s doctrine as the philosophy of living. Even though physical ecology has been changed, however, mental ecology has not been changed and has still given the precedence to living moralities from birth until death. The brothers from the past until present have governed the Bangnok-Khuek Community of the Nativity of Our Lady’s Cathedral applying Pastoral Care. In addition, working transparency with emphasis on virtue and honesty
has also been built as the principle in governing the society of this Catholic community. The community people have co-existed with friends who have been different in religions with good relationship and can behave themselves in consistency with the concept of
“religious relation” by creation of good relationship with the people who have been religious on other religions. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ไทยศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|