DSpace Repository

ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี : ภาพลักษณ์ของอุดมการณ์หลักในละครโทรทัศน์ไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisor รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม
dc.contributor.author แข มังกรวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:44:22Z
dc.date.available 2024-02-05T06:44:22Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12782
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเรื่องศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี: ภาพลักษณ์ของอุดมการณ์หลักในละครโทรทัศน์ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของอุดมการณ์ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี ที่ถูกผลิตซ้ำและส่งผ่านภาพลักษณ์ต่าง ๆ ในละครโทรทัศน์ ตลอดจนสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทั้ง 3 ที่มีผลต่อโครงสร้างสังคมไทยในเชิงความคิด ทัศนคติ และการให้คุณค่า และสร้างสรรค์สื่อละครโทรทัศน์จากภายใต้แนวคิด ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี และสรุปเป็นองค์ความรู้ หลังสร้างสรรค์ผลงานใช้ระเบียบวิจัยด้วยการกําหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือกลุ่มผลงาน ละครโทรทัศน์ที่ใช้เกณฑ์การผลิตซ้ำมากกว่า 5 ครั้ง จํานวน 5 เรื่อง ได้แก่ บ้านทรายทอง คู่กรรม ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ผู้กองยอดรัก และแม่นากพระโขนง มาทําการวิเคราะห์ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากนวนิยาย ตํานาน หนังสือและบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะของเครื่องมือวิจัยใช้ทฤษฎีโครงสร้างวิทยาและทฤษฎีสัญญะวิทยา เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ 3 อุดมการณ์หลักที่ถูกผลิตซ้ำในละครโทรทัศน์ไทย คําถามการวิจัยคือละครโทรทัศน์ไทยที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุด จะทําการตอกย้ำอุดมการณ์ทั้ง 3 ด้วยโครงสร้างเนื้อหาเดิมและภาพลักษณ์เดิมหรือไม่ ตลอดจนโครงสร้างเนื้อหาและภาพลักษณ์ของอุดมการณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเช่นไร โดยองค์ความรู้จากการศึกษานี้จะทําให้เห็นโครงสร้างหลักของเนื้อหาในละครโทรทัศน์ และเกิดชุดความคิดที่เป็นแนวทางในการนําโครงสร้างหลักเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ให้เกิดมิติที่ร่วมสมัย การวิจัยค้นพบว่าโครงสร้างของเนื้อหาหลักที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง เนื้อหาส่วนใหญ่จะเล่าผ่านความรักระหว่างชายหญิงทั้งสิ้น โดยอุดมการณ์ศักดินาจะปรากฏในเรื่องของชนชั้นทางชาติกําเนิด ทรัพย์สินเงินทองมากที่สุด อุดมการณ์ศักดาจะปรากฏคู่กับผู้ที่มีชนชั้นเหนือกว่ากระทําต่อผู้ที่ด้อยกว่าในมิติที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นความริษยาความเกลียดชัง หรือการโอ้อวดซึ่งฐานะและศักดามักจะตกอยู่กับตัวละครนางเอกในตอนท้ายเป็นหลัก อุดมการณ์ ศักดิ์ศรีจะปรากฏในเรื่องของความดีงาม คุณค่าทางจิตใจและการยึดมั่นในความเชื่อของตนเอง ซึ่งในแต่ละครั้งของการผลิตซ้ำจะถูกตีความในลักษณะรูปแบบเดิม ความหมายเดิมเหมือนกันทุกครั้ง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าโครงสร้างของละครที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุดนั้นแท้จริงแล้วเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและพบได้ในโครงสร้างละครโทรทัศน์อีกหลากหลายเรื่องที่สามารถนำมาทําการถอดรื้อโครงสร้างและประกอบขึ้นใหม่ให้เกิดความร่วมสมัยได้ แนวทางสร้างสรรค์ ละครโทรทัศน์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 โครงสร้างเดิมตัวละครเดิมเปลี่ยนแปลงเพียงบริบทระดับที่ 2 โครงสร้างเดิมตัวละครใหม่บริบทใหม่ ระดับที่ 3 นําโครงสร้างเดิมมาประกอบขึ้นใหม่ ด้วยบริบทและความหมายใหม่จากผลงานสร้างสรรค์ว่าละครโทรทัศน์สามารถใช้แนวคิดของการประกอบสร้างขึ้นใหม่ (Reconstruction) เพื่อทําการสร้างความหมายใหม่ บริบทใหม่ และรูปแบบโครงสร้างที่มีความอิสระให้สามารถสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่หลากหลายจากโครงสร้างเรื่องเดิมที่มีความแข็งแรง มีความเข้าถึงผู้ชมได้อย่างร่วมสมัย จะเห็นได้ว่าการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยนี้สามารถที่จะใช้ในการหาอุดมการณ์ในสื่อละคร โทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ได้อีกหลากหลายอุดมการณ์ ซึ่งจะสามารถทําให้เข้าใจถอดรหัสถึงค่านิยมความเชื่อทัศนคติของคนในสังคมไทย และสังคมวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ละครโทรทัศน์ ยังสามารถเป็นสื่อกลางในการศึกษา ทําความเข้าใจไปยังสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทําความเข้าใจสังคม ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการผสมผสานกับศาสตร์อื่น และอีกหลากหลายมิติ เพราะละครโทรทัศน์เป็นสื่อกลางที่ทรงอิทธิพลในทุกสังคม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject บทละครไทย
dc.subject บทละครไทย -- การวิเคราะห์
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title ศักดา ศักดินา ศักดิ์ศรี : ภาพลักษณ์ของอุดมการณ์หลักในละครโทรทัศน์ไทย
dc.title.alternative Power class and dignity: image of dominant ideology in Thai television drama
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study employed qualitative research which aimed to investigate 3 types of Dominant Ideology that were remade in Thai television drama: Ideology of Power, Ideology of Class, and Ideology of Dignity. The research questions intended to describe whether the most remade Thai television dramas had emphasized such ideologies in terms of original plot structure and images or not, and what the characteristics of plot structure and images of those Thai television dramas are. The body of knowledge gained from the research illustrated the main plot structure of Thai television drama’s content, and generated the concepts of how to apply the main structure in creating new work pieces with contemporary dimensions. The data of the research was collected from the case study of 5 Thai television dramas: Baan Sai Thong, Khu Kam, Phuyai Lee Kab Nang Ma, Phu Kong Yod Rak ,and Mae Nak Phra Khanong. Theories of Structuralism and Semiology were used as the study frameworks, and integrated the body of knowledge from the study with the concepts of Post-structural and Reconstruction. The result of the study has shown that the content in these 5 titles of Thai dramas mostly described theplot of love affair between the main male and female characters. The Ideology of Class mostly appeared in terms of social classes and wealth. Such ideology occurred along with the treatment of characters in the higher class to the lower class in different dimensions such as hatred, and flaunting the richness. The consequences of Power Ideology frequently resulted to the main female character, while Ideology of Dignity appeared in terms of virtue, sentimental value, and self esteem. Each time that the titles are remade, Ideology of Dignity will always be interpreted in the same way. The result found that the structure of most remade Thai television dramas was considered as the master plot, and seemed to be found in several other Thai dramas, which were made in more contemporary ways. This study has ซ generated 3 types of main creating concepts: (1) Original structure in different context (2) Original characters in new context (3) Creating new structure from the original in the new context and new meaning.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account