DSpace Repository

การออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิรวัฒน์ พิระสันต์
dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.author จินดา เนื่องจำนงค์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:44:04Z
dc.date.available 2024-02-05T06:44:04Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12773
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การศึกษาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา พัฒนาแนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา และศึกษาผลของการพัฒนาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากปราชญ์ชุมชน นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กร และการสนทนากลุ่มตัวแทนประชากรในพื้นที่ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหามีความใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นคืองบประมาณในการบริหาร จัดการมีจำกัด ขาดเจ้าหน้าที่และบุคลากรดูแลโดยตรง การจัดแสดงวัตถุรวมถึงการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นยังไม่น่าสนใจ ด้านความต้องการของพิพิธภัณฑ์คือการมีส่วนร่วมของบุคคลในชุมชนในด้านของการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ การปลูกผังให้เด็กและเยาวชนเกิดความรักในชุมชน 2. การศึกษาแนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า การออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงโครงสร้างของระบบบริหารจัดการควรเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ 3 แห่งเป็นหลัก คือ ตลาดคลองสวน ศูนย์การเรียนรู้บอนสีฯ และศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนการออกแบบนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ การจัดแสดงวัตถุแบบถาวรและการจัดพื้นที่แสดงวัตถุแบบชั่วคราว โดยเน้นการออกแบบกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้สัมพันธ์กับสื่อแสดงพร้อมทั้งเอกสารองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3. ผลของการพัฒนาการออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พบว่า มีความเหมาะสมในการสื่อ ความหมายในรูปของการออกแบบนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ผ่านการสาธิต การแสดง การฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดขความร่วมมือจากชุมชน นอกจากนี้การออกแบบเชิงระบบบริหารจัดการ ยังได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject พิพิธภัณฑ์ชุมชน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
dc.subject พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
dc.title การออกแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternative Local museum design for interdisciplinary learning: Chachoengsao Province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposesof this research are to study the problems and needs of the local museum in Chachoengsao, to develop guidelinesof local museum design for interdisciplinary learning in Chacheongsao province and to study the results of local museum design for interdisciplinary learning of Chacheongsao province. The data was analyzed by using the qualitative analyzing data from documents, in-depth interview from local community philosophers, academics, organization executives and focus-groups with local people. The results of this research revealed that 1. The problems were similar to those of other museums; limited budgets for management, personnel shortage and uninteresting displays and learning activities. The local museum needs the cooperation of the local in museum promoting, learning activities and fostering a love of community in a young generation. 2. The guidelinesof local museum design for interdisciplinary learning of Chacheongsao province should be related to other 3 main learning resources; Klong Suan Old Market, Bonsri Learning Centre and the Sufficiency Economy and Agriculture Philosopher Learning Centre which have integrated learning activities and community cooperation. Material display designs were divided into 2 areas; permanent materials display and temporarily materials display by emphasis of relation between activities and materials display. 3. The results of the ways of Local Museum Design Development Program were meaningful and suitable for demonstration, display and training of students and general public. In addition, the cooperation of the local community, the local administrative organizations, and other organizations also supported the management system design.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account