dc.contributor.advisor |
สุทิน กิ่งทอง |
|
dc.contributor.author |
สุภัททา เฉื่อยฉ่ำ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T06:13:54Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T06:13:54Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12707 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลกระทบของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายน้ำ (water accommodated fraction หรือ WAF) โดยการทดสอบความเป็นพิษแบบกึ่งเฉียบพลันของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายในน้ำต่ออัตราการตายและเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ นำหอยนางรมปากจีบมาเลี้ยงปรับสภาพในห้องปฏิบัติการและทดสอบผลกระทบของ WAF โดยใช้ความเข้มข้น 0, 6.25, 12.5, 25, 50 และ 100% ในระยะเวลา 96 ชั่วโมงและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผลการศึกษาพบว่า ไม่พบอัตราการตายของหอยนางรมปากจีบในกลุ่มควบคุม แต่พบอัตราการตายในทุกกลุ่มทดสอบ อย่างไรก็ดีอัตราการตาย ในกลุ่มทดสอบค่อนข้างต่ำ และไม่แตกต่างกัน (p>0.05) โดยพบอัตราการตายสูงสุดคือร้อยละ 10 ในกลุ่มทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 100% ที่เวลา 96 ชวั่ โมง ผลการทดสอบในระดับเนื้อเยื่อใน 5 อวัยะ ได้แก่ กระเพาะอาหารเนื้อเยื่อลำไส้ต่อมย่อยอาหารแมนเทิลและเหงือก โดยใช้เทคนิค มิญชวิทยา แสดงให้เห็นว่า WAF ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ ทำ ให้เกิดลักษณะผิดปกติขึ้นในหลายระบบ โดยผลกระทบต่อเนื้อเยื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทดสอบและตามความเข้มข้นของ WAF ที่หอยนางรมปากจีบได้รับ แสดงให้เห็นว่า WAF ทำให้หอยนางรมปากจีบเกิดความเครียดขึ้นในกลุ่มทดสอบ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าหอยนางรมปากจีบมีการตอบสนองต่อ WAF โดยกระตุ้นกลไกการป้องกัน ตัวในระดับเซลล์ เช่น การสร้างเมือกเพื่อป้องกันตัวเองจากน้ำมันดิบ การเกาะกลุ่มของเมด็เลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการอักเสบเกิดขึ้น และยังพบ ความผิดปกติในต่อมย่อยยอาหาร สังเกตได้จากท่อของ digestive diverticulum มีลักษณะเป็ นรูกว้างขึ้น แฉกภายในต่อมย่อยอาหารเริ่มหายไป การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า WAF อาจไม่ก่อให้เกิดการตายในประชากรส่วนใหญ่ของหอยนางรมปากจีบ อย่างไรก็ดีการปนเปื้อนน้ำมันดิบ ในปริมาณมากส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อของหอยนางรมปากจีบ และอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่และการทำงานของอวัยวะสำคัญ และในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อประชากรทั้งในด้านการสืบพันธุ์ และการสร้างประชากรรุ่นใหม่อีกด้วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
หอยนางรมปากจีบ |
|
dc.subject |
Science and Technology |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.title |
ผลกระทบของน้ำมันดิบส่วนที่ละลายน้ำ (WAF) ต่อเนื้อเยื่อหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) |
|
dc.title.alternative |
Effect of wter ccommodted frction (wf) of crude oil on tissue of oyster (sccostre cucullt) |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The present study was carried out to investigate sub-acute effect of water accommodated fraction (WAF) of crude oil by using experimental exposure. Oysters were collected, acclimated and exposed to WAF at concentrations of 0, 6.25, 12.5, 25, 50 and 100%, respectively. Mortality and histopathological effect were examined. Mortality rate has shown that none of mortality was found in control. Mortality rates in all WAF treatments. However mortality rates were relatively low in all treatments and were not different (p>0.05). The highest mortality rate was 10% which found in 100% WAF treatment at 96 hours of exposure. The histopathological results in 5 organs including stomach, intestine, digestive gland, mantle and gill has revealed that crude oil WAF had effects on oyster tissues. Besides, resulthas indicated that WAF caused abnormalities in many systems. Severities of the effects were increased by dose- and time-dependent manner of WAFexposure. The results also indicated that WAF induced cellular protective responsesof oyster such as mucous cell production and mucous secretion, hemolytic aggregation which indicates inflammation of tissues. In addition, abnormality was found in digestive gland have been observed in the lumen is widened. The results also indicated stress response of oyster to the WAF exposure. Although the results from present study has been shown that mortalities of oyster in WAF was not high, exposure to high concentration of WAF affecting oyster tissues and could consequently affect on function of important tissues. Altogether, these results also indicated that WAF may cause long-term effect to wild population which possibly reduces fitness of the next generation. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|