dc.contributor.advisor | เทพศักดิ์ ทองนพคุณ | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก | |
dc.contributor.advisor | Sungh Kim | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | |
dc.contributor.author | ซอ, มิยอง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์. | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:56:29Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:56:29Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12693 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเสนอแนะความสําคัญของงานออกแบบสาธารณะเมือง ก่อนจะสร้างงานออกแบบที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และสะท้อนอัตลักษณ์ของอําเภอเมืองชลบุรี จากนั้นจึงเสนอแนะแนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจร หลังจากหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองชลบุรีได้แล้ว สําหรับการศึกษาเบื้องต้นก่อนการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบและวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสาธารณะเมืองของกรณีศึกษาจากมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เปรียบเทียบได้อําเภอเมืองชลบุรี มหานครอินชอน ได้ประกาศผังเมืองพื้นฐานที่มุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ในอนาคตที่จะเป็น “อินชอนน่าอยู่ เมืองสีเขียว ระดับโลก” แผนการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2006 และมีกําหนดเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2025 มีเป้าหมายที่จะดําเนินการทั้งเมือง ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์วิธีที่มหานครอินชอน ได้สร้างแนวทางการออกแบบสาธารณะเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของเมืองและสร้างภูมิทัศน์เมืองอย่างบูรณาการและการที่ แนวทางการออกแบบสาธารณะได้ถูกนําไปใช้ในการติดตั้งสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรในเมือง จากผลการศึกษา แม้ผังเมืองพื้นฐานจะไม่ใช่วิธีการทางกฎหมายที่จะปรับปรุง สภาพแวดล้อมเมืองของมหานครอินชอน และเตรียมวิธีการบริหารจัดการสิ่งอํานวยความสะดวก สาธารณะที่มีประสิทธิภาพแต่ได้กําหนดเงื่อนไขของแผนพัฒนาระยะยาว รวมถึง แผนภูมิทัศน์เมือง พื้นฐานแนวทางการออกแบบเมืองสําหรับมหานครอินชอน แผนเบื้องต้นในการออกแบบ สาธารณะมหานครอินชอน ฯลฯ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองและการพัฒนาเมือง เช่น กฤษฎีกาการออกแบบภูมิทัศน์เมืองสําหรับมหานครอินชอน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นด้วย แผนการพัฒนาเมืองที่เป็นระบบที่บูรณาการ ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ที่มหานครอินชอน พยายามให้เกิดขึ้นภายใต้การบริหารของสํานักงานส่งเสริมการออกแบบเมืองฝ่ายบริหารภูมิทัศน์ขึ้นตรงกับรองนายกเทศมนตรี ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาสถานะปัจจุบันของสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจร และสํารวจเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอําเภอเมืองชลบุรี และเสนอแนะความจําเป็นของงานออกแบบสาธารณะสําหรับอําเภอเมืองชลบุรี ศูนย์กลางของจังหวัดชลบุรี อันดับแรกในการสํารวจสถานะปัจจุบัน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ สรุป ระบุปัจจัยการประเมินเพื่อสร้างตัวบ่งชี้การประเมิน ได้แก่ การใช้งานการบูรณาการความปลอดภัย การใช้งานได้ทุกคน ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และอัตลักษณ์ จากตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินจากนั้นผู้วิจัยได้ทบทวนและวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะเมืองชลบุรี จากผลการประเมินพบว่า สิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะของเมืองชลบุรีขาดการคํานึงถึงผู้สัญจรทางเท้า ทําให้น่ากังวล เรื่องความปลอดภัยในพื้นที่เดิน และจําเป็นต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแทนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสิ่งอํานวยความสะดวกเกิดความเสียหายและได้รับการดูแลไม่เพียงพอ ในทางกลับกันเป็นการยากที่จะหาเอกภาพระหว่างสิ่งอํานวยความสะดวกใหม่และเก่า และเห็นได้ง่ายว่า สิ่งอํานวยความสะดวกทางสัญจรส่วนใหญ่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับงบประมาณในช่วงเวลาที่ดําเนินการ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งมากเกินความจําเป็น และมีการติดตั้งโดยไม่ได้ระมัดระวัง ทําให้ไม่เหมาะสมกับบริบทของสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ส่วนการสํารวจเพื่อค้นหาอัตลักษณ์เมืองชลบุรีนั้นมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 452 คน จากการส่งแบบสํารวจ 500 ชุด ประกอบด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐของเทศบาล จํานวน 12 แห่ง ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบนโยบายพัฒนาเมืองชลบุรี คณาจารย์และนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จากผลการสํารวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสอบถามให้การประเมินสภาพแวดล้อม เมืองอุตสาหกรรมท้องถิ่น และสังคมท้องถิ่นในเชิงบวก จากผลการศึกษา สามารถระบุนิยามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองชลบุรีได้ว่า “เมืองชายทะเล: เมืองท่องเที่ยวชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์” “ก้าวหน้า: เมืองอุตสาหกรรมร่วมสมัยที่เต็มไปด้วยพลวัตร” และ “หลากหลายทางวัฒนธรรม: เมืองมีชีวิตซึ่งขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ตลอดจนความต้องการของผู้คนในท้องถิ่น ต่างอยู่ร่วมกัน” จากผลการศึกษา ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับเมืองชลบุรี ภายใต้เป้าหมายที่จะเป็น “ชลบุรี เมืองรื่นรมย์ เต็มไปด้วยปฏิสัมพันธ์ น่าอยู่” (Pleasant city+interactingcity+ want-to-live city= Mueang Chon Buri) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะ แนวทางการออกแบบโดยละเอียด สําหรับสิ่งอํานวยความสะดวก ภายใต้ยุทธศาสตร์การออกแบบ 7 ข้อ และหลักการออกแบบพื้นฐาน 6 ข้อ สิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรสามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สิ่งอํานวยความสะดวก สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับพื้นที่สีเขียว สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับการสัญจร และสิ่งอํานวยความสะดวกในส่วนเสริม ประเภทย่อย ๆ มีทั้งหมด 32 ชนิด และมีรายละเอียดแนวทางการออกแบบสําหรับสิ่งอํานวยความสะดวกแต่ละชนิด โดยระบุรายละเอียดรูปทรงวัสดุสีสัน และวิธีการติดตั้ง แนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรของเมืองชลบุรีจะช่วยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่รับผิดชอบเข้าใจถึงงานออกแบบสาธารณะระดับเมืองได้ อย่างลึกซึ้งขึ้น และเล็งเห็นถึงความสําคัญ นอกจากนี้ หากมีการวางแผนโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบสาธารณะในจังหวัดอื่น ก็สามารถใช้แนวทางการออกแบบฉบับนี้เพื่อช่วยให้องค์กร และบุคคลที่รับผิดชอบสามารถตั้งแนวทางการออกแบบที่เฉพาะตัวของท้องถิ่นนั้น หรือเสนอแนะทิศทางการออกแบบสําหรับโครงการออกแบบสาธารณะในฐานะกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยเสนอให้แนวทางการออกแบบนี้ช่วยให้เมืองชลบุรีดําเนินแผนพัฒนาเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่บูรณาการและมีสุนทรียภาพ ตลอดจน ส่งเสริมการตลาดให้กับเมือง นอกจากนี้ ก่อนจะมีการวางแผนพัฒนาเมืองระยะยาวในอนาคต ผู้วิจัยเสนอให้มีองค์กรความร่วมมือซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญ และคณะที่ปรึกษาจากประชาชน ควรดําเนินการโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่เพื่อร่วมจัดทําแผนการออกแบบสาธารณะเมืองที่มีความสอดคล้องกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | การออกแบบภูมิทัศน์ | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.title | แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะสำหรับอำเภอเมืองชลบุรี : การศึกษาเปรียบเทียบกับการออกแบบมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี | |
dc.title.alternative | การศึกษาเปรียบเทียบกับการออกแบบมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี,The public fcility design guideline of meung chon buri district: comprtvie study on urbn design of incheon metropolitn city, republic of kore | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to suggest the importance of urban public design before establishing a local unique design that reflects the identity of Mueang Chon Buri district then suggest a design guideline for public street facility after drawing the local identityof Mueang Chon Buri. As a pilot study prior to this study, researcher has compared and analyzed the urban public design guideline of Incheon Metropolitan City, Republic of Korea, which has the most similar geographic location and industrial structure compared with those of Mueang Chon Buri district. Incheon announced the basic city plan aiming at the future vision of “Global Green City Incheon, Pleasant to Live”. This plan has started from 2006 and scheduled to finish by 2025, targeting whole range of the city. Researcher hasstudied and analyzed how Incheon builds the public design guideline to reflect the city identity and to establish integrated urban landscape, and how the public design guideline has actually been reflected in installing the public street facility within the city. According to the study result, although the basic city plan is a non-statutory plan to improve urban environment of Incheon and to prepare efficient management methods on public facilities, it stipulates a series of long-term plans including‘Basic Urban Landscape Plan’, ‘Incheon Metropolitan City Urban Design Guideline’, ‘Incheon Metropolitan City Public Design Basic Plan’, etc. For urban vitalization and also urban development related regulations like ‘Incheon Metropolitan City Urban Landscape Design Ordinance’. All these measures are made because an integrated and systematic urban development plan that reflects local identity of Incheon has been working out under the management of the Urban Design Promotion Office, the landscape administration department under the deputy major. ซ Researcher hasconducted a current status investigation on public street facility and a survey to figure out the local identity of Mueang Chon Buri district to suggest the necessity of public design toMueang Chon Buridistrict, the center of Mueang Chon Buri province.First, in the current status investigation on public street facility design, researcher specified the evaluation factors to make an evaluation index with the following 7 criteria: functionality, integration, safety, universality, environment, sustainability and identity. Based on the evaluation index, researcher hasreviewed and analyzed the current status of public facility of Mueang Chon Buri. According to the evaluation result, the public street facility of Mueang Chon Buri lacks of consideration for pedestrians to cause the worry on the safety in walking space, and needs urgent repairs and replacements due to destruction and insufficient maintenance of street facilities. On the contrary, it isdifficult to find the unity between new facilities and old facilities, and easily noticed that most street facilities appear separately by groups in accordance with the budget execution time. Additionally, excessive decorations and thoughtless installation does not match with surrounding environment. The survey to find out local identity of Mueang Chon Buri is carried out to 452 attendants from 500 questionnaires who consist of governmental officers of related municipalities who are in charge of urban development policy of Mueang Chon Buri; professors and students and administrative staffs of BuraphaUniversity. According to the survey results, more than 50% of answerers showed positive evaluation about urban environment, local industry and local society. After researcher hasreviewed the survey results, researcher specify and define the local identity of Mueang Chon Buri district as follows: ‘Marine: a plentiful seaside tourism city’, ‘Progressive: a dynamic contemporary industrial city’ and ‘Multicultural: an organic and multicultural city where contemporary culture and local people’s needs coexist’. Based on this study, researcher suggest the design guideline for public street facility of Mueang Chon Buriunder the goal of “Pleasant city+Interacting city +Want-to-live city=MueangChon Buri”.In addition, researcher suggest detailed design guideline for 32 types of public street facilities under 7 basic design strategies and 6 basic design principles. Public street facilities are largely divided into 4 types including convenience facility, green facility, traffic facility and supplement facility; divided type is again classified into total 32 types; and, detailed ฌ design guideline is given to each type. The design guideline for each facility is specified in details byforms, materials, colors and installation methods. The design guideline for public street facility of Mueang Chon Buri is expected to help related organizations and people in charge to understand urban public design deeply and to recognize the importance. In addition, when a public design related project is planned in other provinces, this design guideline will help related organizations and people in charge to establish a local unique design guideline or to suggest a design direction for a future urban public design project as a related case. researcher suggest that this design guideline will help Mueang Chon Buri to carry out an urban development plan more concretely and efficiently; to establish an aesthetic and integrated local identity; and to enhance the city brand. In addition, prior to beginning the future long-term urban development plan, researcher suggest a cooperative organization that consists of public design related department under local government, experts and citizens’ advisory council needs to be newly made to lead an integrated urban public design plan. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |