dc.contributor.advisor |
เทพศักดิ์ ทองนพคุณ |
|
dc.contributor.advisor |
บุญชู บุญลิขิตศิริ |
|
dc.contributor.author |
ชัยพร ภูทัตโต |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:56:27Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:56:27Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12690 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การทําวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบลวดลายที่มีที่มาจากศิลปะประจําชาติของไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนมาถึงปัจจุบันโดยทําการศึกษาลวดลายรดน้ำที่อยู่บนตู้พระธรรมวัดเซิงหวายจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนปัจจุบันตู้พระธรรมวัดเซิงหวายนี้ได้ถูกนํามาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครตู้พระ ธรรมนี้เป็นศิลปะสกุลช่างชั้นครูในสมัยอยุธยา ซึ่งเรียกชื่อว่าครูวัดเซิงหวายที่มีความโดดเด่นในด้านความอ่อนช้อย และซับซ้อนของลวดลายอันประกอบสร้างจากลายไทยพื้นฐาน คือ ชุดลายกระหนก และสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์โครงสร้างของลวดลายไทยจากตู้พระธรรมด้วยเทคนิคการลดทอนรายละเอียด และสร้างสรรค์ลวดลายไทยประยุกต์จากเค้าโครงเดิม เริ่มต้นด้วยการสร้างลวดลายจากกระดาษ จากนั้นจึงเติมแต่งลวดลายประยุกต์ที่ได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จนได้มาซึ่ง ผลงานที่ครบถ้วน กลายเป็นภาพร่างโคมไฟที่ประกอบด้วยลวดลายประยุกต์อันงดงาม จากนั้นจึง ผลงานออกแบบที่ได้นั้น ไปจัดทําต้นแบบสามมิติ และนําต้นแบบที่ได้เข้าสู่กระบวนการวิจัย และการประเมินผลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกแบบ จากนั้นจึงคัดเลือกลวดลายที่ได้รับความนิยม สูงสุด 3 รูปแบบ แล้วนํามาผลิตเป็นโคมไฟ โดยใช้วิธีฉลุด้วยเครื่องเลเซอร์ และทดลองผ่านวัสดุต่าง ๆ เติมแต่งชีวิตชีวาด้วยแสงไฟจากหลอดไฟลักษณะต่าง ๆ จนได้มาซึ่งโคมไฟลายไทยประยุกต์ ที่มีความงดงามคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ และสุนทรียะปรากฏเป็นโคมไฟที่อุดมไปด้วยประโยชน์ในการใช้สอย และอุดมไปด้วยกลิ่นอายของเอกลักษณ์ความเป็นไทย จากผลงานโคมไฟที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ โดยผลการวิจัยพบว่าลวดลายไทยที่สื่อถึงความเป็นไทยที่สุด ลวดลายไทยที่มีความงดงามที่สุด และลวดลายไทยที่สื่อถึงตู้พระธรรมวัดเซิงหวายมากที่สุดคือลวดลายกระหนกซึ่งเมื่อนํามาออกแบบเป็นลวดลายไทยประยุกต์แล้วลวดลายที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทั้งหมด 3 ลวดลาย (กระหนก, พฤกษา, สัตว์หิมพานต์) ก็ยังคงเป็นลวดลายกระหนก และเลือกใช้วัสดุในการทดลอง 3 ชนิด ได้แก่ ไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami), ไม้อัด และ สังกะสี จากผลการประเมินพบว่าวัสดุที่เหมาะสมจะนํามาผลิตเป็นโคมไฟมากที่สุด ได้แก่ ไม้ เนื่องจากมีความเป็นธรรมชาติ และสะท้อนอัตลักษณ์ของช่างฝีมือไทยได้เป็นอย่างดี โดยไม้ที่ใช้ออกแบบตกแต่งโคมไฟในครั้งนี้ ได้แก่ ไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami) มีความหนา 8 มิลลิเมตร เนื้อไม้เป็นสีตามธรรมชาติ (น้ำตาลอ่อน) และไม้อัดยาง ที่มีความหนา 10 มิลลิเมตร เนื้อไม้เป็นชั้นๆ เพราะถูกอัดด้วยเศษไม้จํานวนมาก ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตที่ใช้ ได้แก่ การฉลุด้วยเลเซอร์ ซึ่งในขั้นตอนการผลิต เมื่อไม้ญี่ปุ่น (Shina Awagami) ได้ทําปฎิกริยากับความร้อนจากเครื่องยิงเลเซอร์แล้วผลที่ได้ คือ ได้เกิดลวดลาย รูปแบบใหม่ขึ้นบนเนื้อไม้ (สีนําตาลอ่อนผสมสีน้ำตาลแก่) ส่วน เมื่อไม้อัดโดนความร้อนจากเครื่องยิงเลอเซอร์ จะทําให้บริเวณเนื้อไม้ที่ถูกความร้อนเกิดเป็นสีเข้มขึ้น (สีน้ำตาลอมแดงเข้ม) ซึ่งโคมไฟที่ผลิตออกมานั้น มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบโปรงแสง และทึบแสง จากนั้นได้ทําการทดลองให้แสงแก่โคมไฟด้วยหลอดไฟ 2 ชนิด คือ หลอดใส และหลอดขุ่น ผลการทดลองพบว่า เมื่อโคมไฟรูปแบบโปร่งแสงได้รับแสงจากหลอดไฟแบบใส จะทําให้เกิดลวดลายไทยทั้งบนตัว โคมไฟ และเกิดเป็นเงาของลวดลายไทยที่พาดผ่านลงบนพื้น และหากโคมไฟโปร่งแสงได้รับแสงจากหลอดไฟแบบขุ่น ลวดลายของโคมไฟจะเด่นชัดเพียงบนตัวโคมเท่านั้น ส่วนโคมไฟในรูปแบบทึบแสงเมื่อได้รับแสงจากหลอดไฟทั้งสองแบบแล้ว ลวดลายที่ปรากฎก็จะปรากฏอยู่เพียงแค่บนตัวโคม โดยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งโคมไฟที่มีที่มาจากลวดลายไทยของตู้พระธรรมวัดเซิงหวายชิ้นนี้ ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความงดงามอย่างไทยสามารถสื่ออารมณ์ และสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศิลปกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา. |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.subject |
ลายไทย -- วิวัฒนาการ |
|
dc.subject |
ลายไทย |
|
dc.title |
การนำลวดลายไทยมาประยุกต์ : จากตู้พระธรรมสู่โคมไฟ |
|
dc.title.alternative |
The pplying of thi pttern: scripture cbinet to lmp |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to create and design a traditional Thai artpattern,
considered as cultural heritage, that has been inherited from generation to generation up until
present day. The researcher studied the gold appliqué on black lacquer ornamentation on the
dharma book chests from Wat Choengwai Temple in Phra Nakhon Si Ayutthaya. The dharma
book chest itself is currently displayed in National Museum Bangkok. It is created by the hands of
artist clan that goes by the name ‘Kru Wat Choengwai’ family with distinguishably aesthetic and
complex style. The pattern is derived from basic Thai pattern called ‘Kanok’ pattern or gold leaf
pattern and sacred ‘Himmapan Animals’ by analyzing and reducing some of the details but
maintaining the Thai identity and aesthetic. The result is a beautiful applied Thai pattern that the
researcher used on the table lamp design with practical utilization. The lamp is fully-embodied
with Thai identity as a consequence of this research.
As result from extensive research, the researcher indicates that the best pattern which
represents Thai identity, the most beautiful Thai pattern, and Thai pattern representeddharma
book chest from Wat Choengwai Temple is ‘Kanok’ pattern. Such pattern is redesigned into
applied Thai pattern and the most favorite pattern is still Kanok patterns from 3others (golden
leafs, foliages, Himavanta mythical animals). The researcher experimented on 3 materials as
following; Japanese wood (Shina Awagami), plywood, and corrugated iron. The evaluation found
that the most suitable material for a lamp constructionis wood. The result is wood’s natural sense
can very well reflect that true Thai craftsmanship. The chosen wood for design and lamp
constructionis Japanese wood (Shina Awagami) with 8 millimeters thickness and unpainted
wood flesh (of pale beige color). Plywood with the thickness of 10 millimeters is also used.
Plywood’s wood flesh is distinct with multiple layers of plies from various types of wood glued
and pressed together. Production begins with laser perforation in which the effect of heat from the
laser creates a unique burn marks (of pale beige mix with dark brown) on Japanese wood (Shina
ช
Awagami). As for the plywood, the effectof heat from laser darkens the area of wood flesh that
touches the laser (of reddish-dark brown color). The final product of lamp comes at2
configurations: translucent and opaque. Thence, the researcher experimented on 2types of light
bulb: translucent and opaque. Result from such experiment found that when the translucent lamp
receives light from a translucent bulb, Thai pattern is visible both on the lamp and as a shadow
cast on the floor or walls. If the translucent lamp receives light from an opaque bulb, the pattern is
distinctively visible only on the lamp itself. While the opaque lamp that receives light from both
types of bulb will display the Thai pattern on its surfaces only with no apparent differences.
However, this lamp that took its origin from Thai pattern found on dharma book chest from Wat
Choengwai Temple still maintains the sense of true Thai identity and fully contains the modern
day usability. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทัศนศิลป์และการออกแบบ |
|
dc.degree.name |
มหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|