dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก | |
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชาย สิกขา | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | |
dc.contributor.author | สักรินทร์ อินทรวงค์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา.คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:56:26Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:56:26Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12688 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ รูปแบบ วัสดุ เทคนิค และกรรมวิธีการทําของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว อนุรักษ์ภูมิปัญญาและพัฒนาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการศึกษารูปแบบวัสดุ เทคนิคและกรรมวิธีการทําของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ช่างหล่อหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และลวดลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบหัตถกรรมทองเหลือง และแบบประเมินองค์ความรู้ศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว และแบบร่าง ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบ ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ หัตถกรรมทองเหลือง แบบดั้งเดิม เช่น กระดิ่ง กระพรวน ชุดเชี่ยนหมาก และรูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง แบบใหม่ เช่น เกวียนเทียมวัวจําลอง กําไล 2. วัสดุ พบว่า วัสดุที่ใช้ในงานหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว โดยกรรมวิธีการหล่อ แบบโบราณแบบสูญขี้ผึ้ง มี 2 ประเภท คือ วัสดุที่ใช้หล่อหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว เป็นโลหะผสม มีทองเหลือง ส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และยังมีส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ เช่น ดีบุก อะลูมิเนียมและตะกั่ว และวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการหล่อทองเหลืองแบบสูญขี้ผึ้ง พบว่ามีด้วยกัน 10 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือแบบโบราณ ที่หาได้ในท้องถิ่น 3. เทคนิคและกรรมวิธีของศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว จากการศึกษาพอสรุป เป็นขั้นตอนได้ 18 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนเป็นงานที่ใช้ฝีมือในการทําทั้งสิ้น 4. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว เป็นการอนุรักษ์รูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง และลวดลายหัตถกรรมทองเหลือง แบบดั้งเดิม และการอนุรักษ์เทคนิคและกรรมวิธีการหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง 5. การพัฒนาศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว ได้ทําการทดลองหัตถกรรมทองเหลือง 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการทดลองหาส่วนผสมของหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว ด้วยกรรมวิธีการหล่อแบบโบราณแบบสูญขี้ผึ้ง พบว่า ทองเหลืองมีส่วนผสมของทองแดง 62.5 % สังกะสี 32.43 % ตะกั่ว 2.42 % ดีบุก 1.03 % อะลูมิเนียม 0.719 % มีความแข็ง 75.4 HV30 และสําริด มีส่วนผสมของทองแดง 75.4 % ดีบุก 18.33 % สังกะสี 5.52 % ตะกั่ว 0.484 % อะลูมิเนียม 0.261 % มีความแข็ง 209.5 HV30 ส่วนที่ 2การทดลองผสมทองเหลืองและสําริด พบว่า ได้ส่วนผสมของทองเหลืองที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุดกับการออกแบบหัตถกรรมทองเหลืองในรูปแบบ เครื่องตกแต่ง คือ มีส่วนผสมทองแดง 67.50 % สังกะสี 27.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบเครื่องใช้สอย คือ มีส่วนผสมทองแดง 62.50 % สังกะสี 32.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบเครื่องประดับ คือ มีส่วนผสมทองแดง 72.50 % สังกะสี 22.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5 % ส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสมกับการออกแบบประติมากรรมแบบลอยตัว คือ มีส่วนผสมทองแดง 57.50 % สังกะสี 37.50 % ดีบุกหรืออะลูมิเนียม 5% และสําริดที่มีสมบัติเหมาะสมกับงานหัตถกรรมสําริดมากที่สุด คือ ส่วนผสมระหว่างทองแดง 72.50 % ดีบุก 22.50 % เงิน 5 % ใช้ในการทํากระดิ่ง ส่วนที่ 3 การทดลองหาค่าความดังของเสียงกระดิ่งทองเหลือง พบว่ากระดิ่งทองเหลืองที่มีเสียงดังมากที่สุด มีส่วนผสมทองแดง 57.50 % สังกะสี 37.50 % ดีบุก 5 % มีความหนาของขอบกระดิ่ง 10.25 มิลลิเมตร และความหนาของลิ้นกระดิ่ง 3 มิลลิเมตร ส่วนที่ 4 เป็นการทดลองสร้างลวดลาย บนหัตถกรรมทองเหลือง พบว่าได้วิธีการสร้างลวดลายบนหัตถกรรมทองเหลือง 6 วิธี คือการชุบโลหะ การกัดกรด การเจาะหรือการเขียนลายด้วยสว่าน การแกะสลัก การทําถมหรือการทําสี และการพ่นทราย 6. การสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรมทองเหลือง ได้ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบหัตถกรรมทองเหลือง 4 รูปแบบ คือ (1) เครื่องตกแต่ง เช่น เชิงเทียน โคมไฟ (2) เครื่องใช้สอย เช่น ถ้วย ถาด (3) เครื่องประดับ เช่น กําไล จี้ และ (4) ประติมากรรมแบบลอยตัว | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | ทองเหลือง | |
dc.subject | ศิลปหัตถกรรม | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | ประติมากรรมทองเหลือง | |
dc.title | ศิลปหัตกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว : อนุรักษ์และพัฒนา เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมชุมชน | |
dc.title.alternative | Art-crft brss of bn p-o: conservtion nd development for re dvnce in community’s crfts wisdom | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were: 1) to study Analysis and synthetic, styles, materials, techniques and the processes for Art-craft Brass of Ban Pa-Ao: 2) The traditional wisdom of this craft and development in Art-craft Brass of Ban Pa-Ao: 3) Study the master model product design Styles, Materials, Techniques and the Processes Art-craft Brass torespect of Ban Pa-Ao Ubonratchathani Province. The sample of the study was the brass craft caster of Ban Pa-Ao and five experts of product design. The research tools were: 1) Interviews, 2) Observations, 3) Experiment, 4) Questionnaire of satisfaction in prototype of product design of art and craft brass. 5) Assessment of knowledge in the Art-crafts brass and drafts of Ban Pa-Ao and idea sketch. The research revealed the following results: 1. Styles: There were two styles of brass art-crafts of Ban Pa-Ao as follows: 1) Traditional style: This style consisted of handicraft such as small bells and a set of betel nut caskets. 2) Modern Style: This style consisted of handicraft such as vases, ox-carts of dummy, and bracelets. 2. Materials: The materials that used to make brass handicraft of Ban Pa-Ao by the traditional processes of lost-wax casting were alloys. There were 2kinds of them. 1) These alloys were the mixture of different metals such as the alloys with the combination of copper and zinc, and the alloys with the mixture of tin, aluminum and lead. 2) As for the materials, equipment and tools used to make brass handicraft by the traditional lost-wax casting processes, there were 10 kinds of the them. All of these were traditional materials and tools which could be found locally. 3. Techniques and processes of brass art-crafts of Ban Pa-Ao: The research found that there were 18steps and each step had to be done by skilled workmanship. 4. The conservation of brass handicraft wisdom of Ban Pa-Ao: The traditional styles and decorative patterns of brass handicraft were conserved as well as techniques and processes of lost-wax casting which were considered as the traditional wisdom and technical conservation. 5. The development of brass handicrafts of Ban Pa-Ao: Four parts of experiments were carried out to get the best alloys for making brass handicrafts as follows:Part 1. Experiment to find out the most appropriate combination of metal to produce brass handicraft, the experiment in this part resulted in the most proper combination for brass of Ban Pa-Ao: Lost-wax casting process, the bread down was copper 62.5 %, zinc 32.43 %, lead 2.42 %, tin 1.03 % aluminum 0.719 % strong 75.4 HV30and bronze mixed copper 75.4 %, tin18.33 %, zinc 5.52 %, lead 0.484 %, aluminum 0.261 % strong 209.5 HV30. Part 2. The experiment to find out the proper combination of metals for brass, the experiment in this step found out the most appropriate combination of brass to produce decorative handicrafts. This showed the following results as copper 67.50 %, zinc 27.50 %, tin or aluminum 5 % and the best for utensils as copper 62.5 %, zinc 32.50 % tin or aluminum 5 %. The results for ornaments showed that the handicraft broke down as copper 72.50 %, zinc 22.50 %, tin or aluminum 5 %; the quality to used with round relief sculptures as copper 57.50 %, zinc 37.50 %, tin or aluminum 5 % bronze was the proper with handicraft as copper 72.50 %, tin 22.50 %, silver 5 % to use with bell. Part 3. The experiments to explore the level of the loud sound of brass bell found that the brass bell has the loudest sound containing of copper 57.50 %, zinc 37.50 %, tin 5 %. The thickness of the edge of the bell was 10.25 mm. and thickness of valve was 3 mm. Part 4. The experiment to design a variety of decorative patterns of brass handicrafts, the experiment found out 6 methods of making decorative designs which consisted of metal plating, acidifying, drilling or writing patterns with the drill, carving, spray or painting and spraying sand. 6. The creation of brass art-crafts, there were 4styles of prototype products of brass handicraft as following: 1) decorative handicraft of the candle holder, and the lamp 2) utensils cup, tray 3) ornaments as bangle, pendant and 4) relief sculptures. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |