Abstract:
การศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ของปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน (วงศ์ย่อย Pomacentrinae) ในประเทศไทย 11 ชนิด ได้แก่ ปลาสลิดหินครีบหลังจุด (Pomacentrus vaiuli) ปลาสลิดหินฟ้า (P. caeruleus) ปลาสลิดหินฟ้าท้องเหลือง (P.auriventris) ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง (P. similis) ปลาสลิดหินสามสี (Chrysiptera rollandi) ปลาสลิดหินฟ้าครีบหลังจุด (C. cyanea) ปลาสลิดหินหางเหลือง (Neoglyphidodon nigroris) ปลาสลิดหินเจ็ดบั่ง (Abudefduf bengalensis) ปลาสลิดหินห้าบั้ง (A. vaigiensis) ปลาสลิดหินฟ้าเหลือง (C.hemicyanen) และปลาสลิดหินสีทอง (Amblyglyphidodon aureus) เตรียมโครโมโซมจากไตด้วยวิธีการบดขยี้เซลล์ และการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดา ผลการศึกษาพบว่ามีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากับ 48,42,48,48,46,36,48,46,48,30 และ 48 แท่ง ตามลำดับ มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 86, 68,48,48,50,64,82,52,50,56 และ 80 ตามลำดับ สามารถจัดสูตรคาริโอไทป์ ดังนี้ ปลาสลิดหินครีบหลังจุด 2n(48)=10m+14sm+14a+10t ปลาสลิดหินฟ้า 2n(42)=6m+6a+16t, ปลาสลิดหินฟ้าท้องเหลือง 2n(48)=48t , ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง 2n(48)=48t, ปลาสลิดหินสามสี 2n(46) =2m+2sm+42t, ปลาสลิดหินฟ้าครีบหลังจุด 2n(36)=12m+16sm+8t, ปลาสลิดหินหางเหลือง 2n(48)=8m+20sm+6a+14t, ปลาสลิดหินเจ็กบั้ง 2n(48)=4m+44t, ปลาสลิดหินห้าบั้ง 2n(48)=2m+46t, ปลาสลิดหินฟ้าเหลือง 2n(30)=16m+14t และปลาสลิดหินสีทอง 2n(48)=16m+16sm+16t ไม่พบความแตกต่างของคาริโอไทป์ระหว่างปลาสลิดหินเพศผู้และเพศเมีย จากข้อมูลเบื้องต้นนำมาสร้างแบบจำลองสมมติฐานสายวิวัฒนาการของโครโมโซม ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปลาสลิดหินทั้ง 11 ชนิด มาจากบรรพบุรุษร่วมที่มีจำนวนโครโมโซมดิพลอย์ เท่ากับ 48 แท่ง จำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 48 และเป็นโครโมโซมชนิดเทโลเซนทริกทั้งหมด