DSpace Repository

การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.advisor ระพินทร์ ฉายวิมล
dc.contributor.author ณฐาภรณ์ ซื่อมาก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12649
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูปฐมวัย จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย และพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่มครูปฐมวัย จำนวน 921 คน จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดประมาณค่า 4 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย และ 64 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความคิดเชิงบวก มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ 2) ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี มี 3 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวบ่งชี้ 3) การเห็นคุณค่าในตัวเอง มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ 4) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร มี 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ และ 5) การรับรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญของตน มี 3 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า โมเดลการวัด ตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (X2 = 106.35; df = 54; p = .00003; CFI = 1.00; GFI = 0.98; AGFI = 0.97; RMSEA = 0.032; X2 / df = 1.97) และผลการพัฒนาเกณฑ์ปกติ พบว่า มีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T20 ถึง T81
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
dc.subject ครูปฐมวัย -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subject ความสุข
dc.title การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternative Developing workplce hppiness indictors of erly childhood techers in the school under Office of the Bsic Eduction Commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to 1) develop workplace happiness indicators of early childhood teachers in the school under office of the basic education commission, 2) investigate the goodness of fit of the proposed model on early childhood teacher’s workplace happiness indicators to the empirical data and 3) establish the norms of the early childhood teacher’s workplace happiness scale. The 1st phase was a qualitative study on early childhood teacher’s workplace happiness indicators through in-depth interviews with 19 purposely chosen key informants. Data were analyzed through content analysis. The 2nd phase was quantitative designed in order to investigate the goodness of fit, measurement model of early childhood teacher’s workplace happiness indicators and norm establishment among 921 early childhood teacher from six regions of Thailand, gathered via the multistage random sampling. Data were collected by using the 4 level rating scales with reliability coefficient .94. Data were analyzed by SPSS for Windows and LISREL. The final outcome was the conceptual framework of early childhood teacher’s workplace happiness indicators developed from qualitative data composed of 5 major components 15 minor components and 64 indicators: 1) Positive Thinking including 3 minor components 16 indicators, 2) Positive social relationships including 3 minor components 8 indicators, 3) Self-esteem including 3 minor components 16 indicators, 4) Perceived organizational support including 3 minor components 14 indicators, and 5) Perceived competence and mastery including 3 minor components 10 indicators. The result of second order confirmatory factor analysis from quantitative data revealed that the model developed fitted with the empirical data (X2 = 106.35; df = 54; p = .00003; CFI = 1.00; GFI = 0.98; AGFI = 0.97; RMSEA = 0.032; X2/ df = 1.97). The norm development yielded the normalized T-Score range of T20-T81.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account