DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author ณัฐิยา พาที
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:49Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:49Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12640
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยจากลักษณะของบุคคล ปัจจัยลักษณะของสภาพแวดล้อม และปัจจัยลักษณะขององค์การ ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากลักษณะของบุคคล ปัจจัยลักษณะของสภาพแวดล้อม และปัจจัยลักษณะขององค์การกับการบริหารจัดการสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากปัจจัยจากลักษณะของบุคคล สภาพแวดล้อม และองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้า ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบหลายขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยจากลักษณะของบุคคล ปัจจัยลักษณะของสภาพแวดล้อม และปัจจัยลักษณะขององค์การที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมภายใน ด้านการกระจายอำนาจ และด้านการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 2. การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จกับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสัมพันธ์กัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) โดยรวม (Yt) ระหว่าง .31-.70 โดยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก (X5) ด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ (X8) ด้านความผูกผันต่อองค์กร (X1) และด้านการกระจายอำนาจ (X6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้เท่ากับ 57 เปอร์เซ็นต์ สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ = 0.769 + 0.262 (X5) + 0.245 (X8) + 0.145 (X1) + 0.152 (X6) = 0.282ZX5 + 0.253ZX8 + 0.186ZX1 + 0.160ZX6
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา?'
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative Fctors influencing school mngement effectivenessby philosophy of economic sufficiency of school under the Secondry Eductionl Service Are Office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were; 1) to determine the level of the personal factors, the environmental factors and the organizational factors influencing in school’s management. 2) to determine the level of school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school. 3) to determine the relationship among the personal factors, the environmental factors and the organizational factors influencing in school’s management. 4) to determine the factors that predicted the school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school. The samples used in this study were 343 administrators and teachers in secondary schools under the secondary educational service area office 18 in semester 2016. The research instrument used for collecting the data was a five level rating scale questionnaire. The statistical devices analysis of this study focused on the arithmetic mean, standard deviation, Pearson product moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results of the research were as follow: 1. The level of the personal factors, the environmental factors and the organizational factors influencing in school’s management as a whole and one by one was found to be a high level; the internal environment, the decentralization and the specialization respectively. 2. The school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school as a whole and one by one was found to be a high level; the human resource development, the school management and the learner development activities respectively. 3. The factors influencing the success of school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school was found to be related by Pearson product moment correlation as whole was between .31-.70. Every factor relates with the school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school under the secondary educational service area office 18 was at the moderate with the significance of .05 level. 4. The prediction variables of factors influencing the success of school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school under the secondary educational service area office 18 in the aspect of the internal environment, the technology and equipment, the relationship of organization and the decentralization with the correlation efficiency of 57 with the significance of .01 level. The regressions equation in raw score and standard score regarding the school’s management effectiveness by philosophy of economic sufficiency of school was shown as follows. = 0.769 + 0.262 (X5) + 0.245 (X8) + 0.145 (X1) + 0.152 (X6) = 0.282 ZX5 + 0.253 ZX8 + 0.186 ZX1 + 0.160 ZX6
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account