dc.contributor.advisor |
สมุทร ชำนาญ |
|
dc.contributor.advisor |
พงศ์เทพ จิระโร |
|
dc.contributor.author |
ปราญชลี มะโนเรือง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:46:47Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:46:47Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12630 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความเหมาะสมและคุณภาพของคู่มือพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 217 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและคู่มือพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าสถิติไค-สแควร์ ชั้นแห่งความเป็นอิสระ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย ประเมินความเหมาะสมและคุณภาพของคู่มือพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน โดยเทคนิคสนทนากลุ่ม (Focus group)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีความเหมาะสมในการเป็นตัวบ่งชี้สมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการ ทั้ง 80 ตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดล ค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลมีผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 80 ตัวบ่งชี้
2. คู่มือพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน หนังสือคู่มือตามองค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจการเรียนรู้ บทที่ 3 การบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน บทที่ 4 การนิเทศ บทที่ 5 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ บทที่ 6 การพัฒนาครู บทที่ 7 การพัฒนานักเรียน บทที่ 8 การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และบทที่ 9 บทสรุป
3. ผลการประเมินความเหมาะสมและคุณภาพของคู่มือพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมีคุณภาพระดับดีมากทุกด้าน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา |
|
dc.subject |
Humanities and Social Sciences |
|
dc.subject |
ภาวะผู้นำทางการศึกษา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.title |
การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
Fctors nlysis of instructionl ledership competencies of school dministrtors under the secondry eductionl service re office 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of a factor analysis of instructional leadership competencies for school administrators under the Secondary Educational Service Area office 18 were to analyze the factors of academic leadership competencies of school administrators under the Secondary Educational Service Area office 18, and to design and assess a quality of manual to developing academic leadership for school administrators. The research sample drawn by quota sampling, comprised of 217 participants. The instruments for this research were a questionnaire of instructional leadership competencies and a manual book to develop instructional leadership for school administrators. Collected data were analyzed by computer programs, mean, standard deviation, Correlation Coefficiency, Chi-Square, Factor loading, Goodness of Fit Index, Adjusted Goodness of Fit Index, Root Mean Square Error of Approximation and focus group for assessing the manual.
The research results revealed that:
1. The academic leadership competencies of school administrators under the Secondary Educational Service Area office 18 were at a high level. The results from the confirmatory factor analysis of the overall achievement indicators of the of instructional leadership competencies were acceptable at the criterion level.
2. The manual to develop academic leadership for school administrators consisted of 9 chapters; they were; introduction, determination of vision, goals, and missions of learning, supervision, curriculum and teaching management, research to improve the quality of education, teacher development, student development and learning Environments and summary.
3. The manual to develop instructional leadership for school administrators was rated at highest level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|