DSpace Repository

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor คูณวุฒิ คนฉลาด
dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.author ฐิติวรรณ ลีฬหวนิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12628
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และตรวจสอบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก จำนวน 594 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เรียงลำดับความสำคัญของข้อค้นพบ ได้แก่ ค่านิยมในการทำงาน (คุณธรรมในการประกอบวิชาชีพครู) บรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันองค์การ ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากผลการตรวจสอบค่า เท่ากับ 474.52 ค่า เท่ากับ 304 ค่า เท่ากับ .00 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า RMSEA เท่ากับ .03 โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการทุ่มเทในการทำงานได้ร้อยละ 67 3. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความผูกพันในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และค่านิยมในการทำงาน ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ บรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และค่านิยมในการทำงาน แสดงให้เห็นว่าโมเดลสมมติฐานที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้อธิบายความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ครูประถมศึกษา -- การทำงาน
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject ครู -- การทำงาน
dc.title ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก
dc.title.alternative The cusl fctors ffecting techers’ work enggement in smll primry schools under the Primry Eductionl Service Ares in the Estern provinces
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to analyze and validate the causal factors those affect teachers’ work engagement in small primary schools under the Primary Educational Service Area Offices in eastern provinces. The sample consisted of 594 primary school teachers. The instrument for collecting the data was a set of rating scale questionnaires. The data was analyzed by the computer program for frequency, percentage, mean, standard deviation, and structural equation model. The findings were as follows: 1. Factors those affected teachers’ work engagement in the small primary schools were; values at work, organizational climate, motivation to work, transformational leadership, and organizational commitment, respectively. 2. The causal factors was consistent with empirical data. Goodness of fit measure were found to be = 474.52, df = 304, p = .00, CFI = .99, RMSEA = .03. The variables accounted for 67 percent of the variance in work engagement. 3. The variables those had statistical significant direct effected on teachers’ work engagement in small primary school were; organizational commitment, motivation to work, transformational leadership, and value at work. The hypothesize model could explain teachers’ work engagement in the eastern provinces.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account