dc.contributor.advisor |
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
อุดมลักษณ์ อุสาหะ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-25T08:46:46Z |
|
dc.date.available |
2024-01-25T08:46:46Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12624 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
|
dc.description.abstract |
ยาสามัญประจำบ้านหาซื้อได้ง่าย ใช้สะดวก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกอาจส่งผลให้เจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้การศึกษานี้ต้องการศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาสามัญของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือแกนนำสุขภาพครัวเรือน 246 คน ที่มีอายุ 20-80 ปี ซึ่งสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากครัวเรือนประชาชนในอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ข้อมูลเก็บด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติในการใช้ยา มีความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.84, 0.65 และ 0.91 ตามลำดับ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการปฏิบัติในการใช้ยาระหว่างกลุ่มตัวแปรสถานภาพในครัวเรือน เพศ อายุ และการศึกษาด้วย Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติในการใช้ยาด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่ศึกษา ส่วนมากเป็นหัวหน้าครัวเรือน (56.5%) เป็นผู้หญิง (57.7%) อายุเฉลี่ย 51.6 +14.8 ปี จบการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา จำนวนมากสุด (38.6%) รองลงมามัธยมต้น (25.2%) ปริญญาตรีหรือสูงกว่า (16.4%) มัธยมปลายหรือเทียบเท่า (14.6%) ประชาชนมีความรู้เฉลี่ยร้อยละ 71.4 มีความเชื่อเฉลี่ยร้อยละ 68.6 และมีการปฏิบัติในการใช้ยาเฉลี่ย ร้อยละ 54.3 โดยประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนมีการปฏิบัติมากกว่าแกนนำสุขภาพครัวเรือน และผู้ชายมีการปฏิบัติมากกว่าผู้หญิง ส่วนประชาชนที่มีอายุ และมีการศึกษาสูงสุดต่างกัน มีการปฏิบัติในการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ไม่แตกต่างกัน ความรู้กับการปฏิบัติในการใช้ยาสัมพันธ์กับเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 แต่ความเชื่อกับการปฏิบัติในการใช้ยาสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับยา และการใช้ยาสามัญประจำบ้านให้เพิ่มขึ้น เพื่อประหยัด และลดปัญหาการใช้ยาในประชาชนต่อไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.subject |
ยาสามัญประจำบ้าน |
|
dc.subject |
Health Sciences |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ |
|
dc.subject |
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
|
dc.title |
พฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านของประชาชน อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี |
|
dc.title.alternative |
A study on household remedies behviors of people in thchnge district, singburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Household remedies can be purchased in convenient, easy to use but if used inproperly, may result in chronic illness and a life-threatening. This study was to study the use of household remedies among people. The sample consisted of 246 head of household or health leader households, aged 20-80 years, Which was a multi-stage sampling from people in Thachange district, Singburi province. Data were conducted through structured interviews with asking general information, knowledge, belief and practice in the use of household remedies, there was the reliability coefficient alpha of 0.84, 0.65 and 0.91 respectively. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and to compare the practice in the use of household remedies among the variables of status in household, gender, age and education by independent ttest and one-way analysis of variance, and to calculate the relationship between knowledge, beliefs and practices by the Pearson correlation coefficient. The study indicated that the most of participants in this study were the head of households (56.5%), were women (57.7%) mean age 51.6 +14.8 years, graduated elementary in large number (38.6%), followed by junior high school (25.2%), bachelor’s degree or higher (16.4%), and high school (14.6%) They had knowledge about the use of household remedies in an average score 71.4 percent, beliefs in an average score 68.6% and practice in an average score 54.3%. The head of the household has more practical than leader households, mean were more practical than women but in difference of aged education no difference in using household remedies. Knowledge and practices in the use of household remedies relationship were positively significant at .01, but belief and practice relationship were positively no statistically significant. So, it should encourage population to improve knowledge about the use of household remedies for saving and reduce chronic illness and a life-threatening. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
สาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.degree.name |
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|