Abstract:
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนมาก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 สืบค้นข้อมูลโดยฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2558 เป็นงานวิจัยทดลอง และกึ่งทดลองทั้งหมด 28 เรื่อง วิเคราะห์ประสิทธิผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Revman 5.3 เพื่อคำนวณหาความแตกต่างค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายที่ปรากฏในงานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์อภิมานเป็นรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีระยะเวลาในการออกกำลังกายตั้งแต่ 4-12 สัปดาห์ สามารถส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งวัดผลจากน้ำตาลของระดับน้ำตาลในเลือดสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง (HbA1c) และจากระดับน้ำตาลภายหลังงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FBS) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบโยคะ (WMD 15.06; 95%CI -16.14, 46.26) แต่ก็ยังพบว่า มีการศึกษาวิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกแบบต่าง ๆ จำนวนน้อย ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในการแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ละบุคคลที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในการจัดแนวทางปฏิบัติในการจัดการระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับผู้ป่วยเบาหวานในลักษณะที่ต่างกัน