DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.author จินดาพร คะชะสะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:45Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:45Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12619
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การออกกำลังกายนับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนทุกเพศทุกวัยทุกกลุ่มอาชีพ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และยังเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพ ฉะนั้น การศึกษาครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจำนวน 225 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่มเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความเชื่อด้านสุขภาพ และส่วนที่ 3 พฤติกรรมการออกกำลังกายนำไปวิเคราะห์โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรจำนวนมากออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานร้อยละ 10.7 รองลงมาคือโยคะ, รำกระบี่กระบองมีค่าเท่ากันร้อยละ 6.2 และออกกำลังกายด้วยการเล่นกอล์ฟ น้อยที่สุดร้อยละ 1.3 ซึ่งมีการออกกำลังกายครบตามเกณฑ์ร้อยละ 30.7 และบุคลากรมีความเชื่อด้านสุขภาพเฉลี่ยร้อยละ 78.6 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านบุคลากรส่วนมากมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงเฉลี่ย ร้อยละ 81.1รองลงมาการรับรู้ความรุนแรงเฉลี่ยร้อยละ 80.9 และการรับรู้ประโยชน์หรืออุปสรรค เฉลี่ยร้อยละ 77.1 พบว่าการรับรู้แรงจูงใจการรับรู้ประโยชน์หรืออุปสรรค และการรับรู้โอกาส เสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ p=0.01 ดังนั้น จึงควรส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรได้รับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของการเจ็บป่วย เพื่อให้มีความเชื่อ ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น และหันมาดูแลใสใจสุขภาพของตนเองด้วยการออกกำลังกาย เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การออกกำลังกาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject Health Sciences
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
dc.title.alternative The reltionship between helth belief nd exrcise behvior of personnel in queen sirikit ntionl institute of child helth
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative An exercise is a very important for all ages, all professions. It will make your body healthy and health promoting. Therefore this study was to find out the relationship between health belief and exercise behavior of personnel in queen sirikit national institute of child health. The sample consisted of 225 people by means of the cluster sampling. Data were collected by sending of questionnaire which consists of three parts: Part 1 personal, Part 2 health beliefs and Part 3 exercise behavior. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation andPearson correlation and regression analysis. The results revealed that the personnel in had exercise bike 10.7 percent, yoga and swords dance as well 6.2 percent and which 1.3 percent in the least golf, which exercises criterion of 30.7 percent. They had health believed in an average 78.6 percent which consistsperceived susceptibility in an average 81.1percent, perceived severity in an average 80.9 percent and the perceived benefits in an average 77.1 percent. Perceived motives, perceived susceptibility and perceived severity positively associated with behavioral exercises (p = 0.01). So, it should encouraged and support for perceived susceptibility and severity of illness in toincrease health beliefs and take care yourself withexercise for healthy.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account