dc.contributor.advisor | วนัสรา เชาวน์นิยม | |
dc.contributor.author | นันทนาวดี บุญขวัญ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:46:44Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:46:44Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12615 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | สมุนไพรแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการรับประทานเป็นผลให้การใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นและพัฒนาสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ การศึกษาครั้งนี้ต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของครัวเรือน อายุ 20 ปีขึ้นไป 240 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 3 อำเภอให้กระจายเป็นสัดส่วนกัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรและการอนุรักษ์สมุนไพร มีความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.92, 0.82 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรและการอนุรักษ์สมุนไพรด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.16± 1.47 คน ตั้งถิ่นฐานอยู่มาแล้ว 18.30± 16.21 ปี มีอายุเฉลี่ย 45.67± 12.39 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.8 จบ การศึกษาระดับชั้นมัธยมต้นและต่ำกว่าคิดเป็นร้อยละ 50.9 ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายร้อยละ 37.1 รองลงมาคือ เกษตรกร ร้อยละ 19.2 มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรได้คะแนนเฉลี่ย 7.33 ± 4.83 หรือ 52.4 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม ความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรได้คะแนนเฉลี่ย 43.33± 7.16 หรือ 72.2 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม และการอนุรักษ์สมุนไพรได้คะแนนเฉลี่ย 8.22 ± 9.08 หรือ 41.1 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความรู้และการอนุรักษ์สมุนไพรต่ำแต่มี ความเชื่อที่ค่อนข้างดี ความรู้ ความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรและการอนุรักษ์สมุนไพรของประชาชน สัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ และความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีการอนุรักษ์สมุนไพรและสร้างมูลค่าเพิ่ม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | Science and Technology | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | สมุนไพร | |
dc.subject | สมุนไพร -- การเก็บและรักษา | |
dc.subject | สมุนไพร -- เชื้อพันธุ์ | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับสมุนไพรกับการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนในจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | The reltionship between knowledge nd beliefs bout herbs with conservtion locl herbs of people in chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The privatization herbs into products that are easy to eat. As a result, the use of herbs and herbal products increased and the develop herbs into a economic crops, that can generate income for nation. Therefore, this study was to find out the relationship between knowledge about herbs, beliefs about herbs and local herb conservation of people in Chonburi province. The sample consisted of 240 people who were the household aged 20 years and above, by means of the randomly, multi-stage from 3 amphoe to distributed is proportional. Data were collected by sending of questionnaire which contained general information, knowledge about herbs, beliefs about herbs and herb conservation with alpha coefficient reliability 0.92, 0.82 and 0.95 respectively. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation and regression analysis. The results revealed that the people in this study had household members in an average 4.16 ± 1.47 persons, settlers were ago in an average 18.30 ± 16.21 years, age in an average 45.67 ± 12.39 years, with 78.8 percent in the most women, graduating class from junior high school and lower than 50.9 percent, the most of merchant 37.1 percent and 19.2 percent to agriculturist. They had the knowledge about herbs in an average score 7.33 ± 4.83 or 52.4 percent of full score, beliefs about herbs in an average score 43.33 ± 7.16 or 72.2 percent of full score and herb conservation in an average score 8.22 ± 9.08 or 41.1 percent of full score. Showed that, they had knowledge and herb conservation in low level, but they got belief quite well. Knowledge and beliefs positively associated with herb conservation given the statistically significant at 0.05. So, it should be encouraged for improving knowledge and beliefs about local herbs to have conservation herbs and creating value increased. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |