Abstract:
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ประชาชนสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตัวเอง แต่โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสาธารณสุขมาโดยตลอดโดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ อาจเกิดจากการที่ประชาชนขาดความเชื่ออำนาจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง การศึกษานี้ต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจเกี่ยวกับสุขภาพกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 208 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มี 3 ส่วน ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ความเชื่ออำนาจเกี่ยวกับสุขภาพเละการป้องกันไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความเชื่ออำนาจตนเองและเชื่ออำนาจผู้อื่นค่อนข้างมาก (ร้อยละ 64.4 และ 66.8) เชื่ออำนาจโชดชะตาระดับต่ำ (ร้อยละ 95.2) ประชาชนมีการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับสูง ร้อยละ 51.0 รองลงมา คือ การป้องกันโรคในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.1 และความเชื่ออำนาจตนเองและอำนาจผู้อื่นมีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ ประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ที่ R' - 0.270 การประยุกต์ใช้ความเชื่ออำนาจ เกี่ยวกับสุขภาพโดยการรณรงค์ให้ประชาชนจัดการลูกน้ำยุงลายตามแหล่งน้ำขัง บริเวณบ้าน อาทิ การจัดการทางระบายน้ำ การคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง และการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด