dc.contributor.author | ปิยฉัตร ยิ้มศิริ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:04:22Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:04:22Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1258 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ทำการประเมินวัฏจักรชีวิตของของเสียโพลีเอทีลีนที่เกิดจากกระบวนการผลิตขวดน้ำยาล้างจานขนาด 3800 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแห่งหนึ่ง วิธีกำจัดขยะพลาสติก 2 วิธี ได้แก่ การนำกลับมาใช้ใหม่และการฝังกลบ ถูกนำมาประเมินและเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ คุณภาพของระบบนิเวศวิทยา และการใช้แหล่งทรัพยากรโดยใช้โปรแกรมสำเร้จรูป SimaPro5.1 และวิธี Eco-Indicator99 และใช้มาตรฐานที่ของเสียโพลีเอทีลีน จำนวน 1 กิโลกรัม สำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่นั้น จะพิจารณาเริมจากขบวนบ่อยพลาสติกจนถึงการขึ้นรูปแบบเป่าขวด ในส่วนของการฝังกลบจะพิจารณาจากการขนส่งของเสียจากโรงงานไปยังสถานที่ฝังกลบจนถึงขบวนการฝังกลบ จากการประเมินผลพบว่ากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากระบวนการฝังกลบด้านสารก่อมะเร็ง ภาวะโลกร้อน การลดลงของชั้นโอโซน ความเป็นพิษ การใช้พื้นที่และการใช้สินแร่ แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามกลุ่มเป้าหมายแล้ว กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ช่วยลดผลกระทบต่สุขภาพมนุษย์และการใช้ทรัพยากรคิดเป็น 3.81 และ 228 mPt (milli Person per target year) แต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ 4.53 mPt ซึ่งสูงกว่ากระบวนฝังกลบ 22 เท่า กระบวนการฝังกลบส่งผลมากที่สุดต่อสุขภาพมนุษย์ คิดเป็น 3.42 mPt รองลงมาคือการใช้ทรัพยากรและระบบนิเวศวิทยา คิดเป็น 1.1 และ 0.206 mPt ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ในเชิงคะแนนเชิงเดี่ยวแล้วพบว่า การนำกลับมาใช้ใหม่ของของเสียโพลีเอทีลีนสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการฝังกลบ 48 เท่า | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การกำจัดขยะ | th_TH |
dc.subject | ขยะ | th_TH |
dc.subject | ผลกระทบสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการกำจัดของเสียพลาสติกด้วยการฝังกลบและการนำกลับมาใช้ใหม่ | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2549 | |
dc.description.abstractalternative | Life cycle assessment (LCA) of polyethylene (PE) wastes generated during a blow-molding process in a 3.8 L dish washing solution container production line of a plastic container manufacturer was carried out in this research. Two methods of waste management, i.e. mechanical recycling and landfill, were evaluated and compared. The study was conducted to assess and compare the environmental impacts in terms of human health, eco-system quailty, and and resource usages of the two waste management methods using an LCA software, SimaPro 5.1 with Eco-Indicator 99 and based on 1 kg of PE waste. For the recycling process, the study covered from plastic waste digestion to reprocessing using blow-molding, while waste transportation and landfill disposal were included for the landfill process. The results show that recycling process has significant impacts in terms of carcinogen generation, climate change, ozone depletion, eco-toxicity, and land and mineral usages whereas landfill causes organics and inorganics respiration, acidification, and fossil fuel usage. Plastic waste recycling show a potential reduction in human health and resource impact measuring at 3.81 and 228 milli person for target year (mPt), respectively; however, the effects of eco-system quality of the recycling process are 22 times htgher than that of landfill. Among the three environmental impact categories, landfill has largest effect on human health (3.42 mPt) followed by the resource and eco-system quality which are 1.1 and 0.206 mPt, respectively. According to LCA single score analysis, mechanical recycling of waste plastic reduces the environmental impacts approximately 48 times lower than landfill disposal. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |