DSpace Repository

การศึกษาสภาพทางภูมิประเทศและสมุทรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางกายภาพของชายฝั่งทะเล ตามแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1254
dc.description.abstract การศึกษาโครงการนี้เป็นการศึกษาสภาพทางธรณีสัณฐานและภูมิประเทศชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรี และความสัมพันธ์ระหว่งสภาพสมุทรศาสตร์ที่มีผลต่อลักษณะทางธรณีสัณฐานและภูมิประเทศ การศึกษาจะมีทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และการสำรวจจากภาคสนามเบื้องต้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า แนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี มีลักษณะทางธรณีสัณฐานที่มีความหลากหลายมาก มีทั้งแนวชายฝั่งที่เป็นหาดโคลน หาดทราย หัวหาด และพื้นที่ป่าชายเลน โดยบริเวณชายฝั่งตั้งแต่ปากน้ำแม่น้ำบางปะกงลงใต้มาถึงหัวหาดอ่างศิลา จะเป็นหาดโคลน และมีพื้นที่ป่าชายเลนสลับอยู่ แหล่งที่มาของตะกอนโคลนน่าจะมาจากปากแม่น้ำบางปะกง แนวชายฝั่งตั้งแต่หัวหาดอ่างศิลา ลงไปจนถึงบางสะเหร่ อำเภอสัตหีบ มีหัวหาดวางตัวอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น หัวหาดอ่างศิลา แหลมแท่น แหลมฉบัง เขาพัทยา หัวหาดบางสะเหร่ เป็นต้น และระหว่างหัวหาดเหล่านี้ จะมีแนวชายฝั่งที่เป็หหาดทรายอยู่ ซึ่งแนวหาดทรายเหล่านี้หลายแห่งก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ชายหาด บางแสน ชายหาดพัทยา ชายหาดนาจอมเทียน เป็นต้น ข้อมูลสถิติลม 15 ปี ในบริเวณพื้นที่ศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ลมหลักที่มีผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลในพื้นที่การศึกษา คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยลมทิศทางดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดคลื่นลมบริเวณใกล้ฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบริเวณใกล้ฝั่งทะเลจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด นอกจากนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะส่งผลทำให้เกิดคลื่นลมในบริเวณน้ำลึกทิสทางเดียวกัน และคลื่นลมนี้จะพัดเคลื่อนตัวเข้ามาปะทะหัวหาดที่มีอยู่เป็นระยะ ๆ ทำให้เกิดการเลี้ยวบน ก่อนที่จะพัดเข้าสู่ชายฝั่ง ส่งผลให้สภาพทางกายภาพของแนวชายฝั่งเป็นรูปคดโค้ง โดยมีชื่อเรียก เช่น Pocket Bay, Curved Bay หรือ Crenulate Bay เป็นต้น th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การกัดเซาะชายฝั่ง th_TH
dc.subject ชายฝั่งทะเลตะวันออก th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การศึกษาสภาพทางภูมิประเทศและสมุทรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางกายภาพของชายฝั่งทะเล ตามแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Study on topographical and oceanographical condition influencing coastal physcial processes along coastline in Chonburi Province en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552
dc.description.abstractalternative This project studies the geomorphologic condition and topography of Chonburi province coasts and the relationship between the oceanographic condition and coastal geomorphologic condition and topography. Data from maps, aerial photos, satellite images and meteorological data together with the field observations are used in the study. The coastline of Chonburi Province is very divers with, for example, muddy coasts, sandy coasts, headlands and mangrove forests. The coast from the Bangprakong river Mouth southward to the Angsila headland is muddy coast. The supply of muddy coast. The supply of mud sediments should be from the Bangprakong River Mouth. The coast from the Angsila Headland southward to Bangsare, Sattahip District comprise many headlands positioning with space, for instance, the Angsila Headland, Leam Tean, Leam Chabang, Pattaya Mountain and the Bangsare Headland. In between headlands thereare a lot of sandy beaches which are very popular among tourists, e.g. Bangsaen Beach, PattayaBeachand Jomtein Beach. Fifteen-year-period wind data in the vicinity of the study distinctly expresses that the main wind that effects on the coastal zone in the study area is the southwest wind. It is able to imply the southwest wind will induce the southwest wind waves along the Chonburi province coastline. Based on the consideration of the fetch length, the wind waves a around the Chonburi Province coastline aregentle rather than them around the Rayong, chanthaburi and Trad Province coastlines. The wind waves propagate to the Chonbuti Province coastline, crash the headlands and islands and diffeact to the coast. This phenomenon brings about the curved coastline, so called for example Pocket Bay, curved Bay crenulate Bay. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account