Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ ( a. B ) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เซียนด้วยวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบเบส์ โดยใช้การแจกแจงไวบูลเป็นการแจกแจงก่อน 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพ (Bias และ MSE) ของตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ ( a. B ) ที่ใช้การแจกแจงไวบูลกับใช้การแจกแจงแกมม่าเป็นการแจกแจงก่อน ในการจำลองสถานการณ์โดยวิธีมอนติคาร์โล จำนวน 125 สถานการณ์ ( C = 1, 5, 10, 50, 100, B = 1, 5, 10, 50, 100 และ n = 50, 100, 200, 400, 1000) และ 3) พยากรณ์ระยะเวลานอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลของผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลศรีธัญญาในปี พ.ศ. 2559 ด้วยตัวแบบ ARIM4X ปรับใหม่ โดยการนำตัวพารามิเตอร์ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เชียน ( a ,B ) ที่ประมาณค่าแบบเบส์ โดยใช้การแจกแจงไวบูลเป็นการแจกแจงก่อน ในการปรับความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนในตัวแบบ ARIM.AX ผลการวิจัย
1. ตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ (a., B) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เชียนด้วยวิธีการประมาณ
ค่าพารามิเตอร์แบบเบส์ โดยใช้การแจกแจงไวบูลเป็นการแจกแจงก่อนที่พัฒนาขึ้น ปรากฏว่า
1.1 พารามิเตอร์รูปร่าง ( a ) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เซียน โดยใช้การแจกแจง
ไวบูลเป็นการแจกแจงก่อนมีแนวโน้มมีประสิทธิภาพดีกว่าใช้การแจกแจงแกมม่าเป็นการแจกแจงก่อน
ในกรณีที่ขนาดตัวอย่างเป็น 50 (ยกเว้นกรณีที่พารามิเตอร์รูปร่างเป็น 100) และ 1,000 แต่ในกรณีที่
ขนาดตัวอย่างเป็น 100 (ยกเว้นกรณีที่พารามิเตอร์รูปร่างเป็น 50), 200 และ 400 พารามิเตอร์รูปร่าง
( a ) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เชียนโดยใช้การแจกแจงแกมม่าเป็นการแจกแจงก่อนมีแนวโน้มมี
ประสิทธิภาพดีกว่า
1.2 พารามิเตอร์บอกมาตราส่วน ( B) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เซียนโดยใช้การแจกแจงไวบูลเป็นการแจกแจงก่อนมีแนวโน้มมีประสิทธิภาพดีกว่าใช้การแจกแจงแกมม่าเป็นการแจกแจงก่อน ในกรณีที่ขนาดตัวอย่างเป็น 100, 200, 400 และ 1,000 แต่ในกรณีที่ขนาดตัวอย่างเป็น 50 พารามิเตอร์บอกมาตราส่วน ( B) ของการแจกแจงอินเวอร์สเกาส์เซียนโดยใช้การแจกแจงแกมม่าเป็นการแจกแจงก่อนมีแนวโน้มมีประสิทธิภาพดีกว่า
2. ผลการพยากรณ์ระยะเวลานอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญาในปี พ.ศ. 2559 ด้วยตัวแบบ ARIM4X ปรับใหม่ ตัวแปรพยากรณ์ประกอบด้วย เพศ จำนวนครั้งที่เคยเข้ารับการรักษา ระดับความรุนแรงของโรค และวิธีการรักษา ปรากฏว่า ผลการพยากรณ์มีความคลาดเคลื่อนโดยเฉสี่ย 6.30 วัน หรือประมาณ 7 วัน การทตสอบผลการพยากรณ์กับข้อมูลจริงในปี พ.ศ. 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ชี้ให้เห็นว่า สมการทำนายถูกต้อง 73.33 % ด้วยช่วงความเชื่อมั่น 99 % ปรากฏ ดังนี้