Abstract:
โครงการวิจัยและพัฒนานี้แสดงผลการศึกษาการแตกของเม็ดดินจากการทดสอบการบดอัดดินในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบกับดินเม็ดหยาบที่มีขนาดคละและส่วนประกอบทางเคมีต่าง ๆ 8 ชนิด ซึ่งดินทั้งหมดมีแหล่งกำเนิดในภาคตะวันออกของประเทศไทย ขนาดคละของดินเหล่านี้ก่อนและหลังจากการทดสอบการบดอัดดินในห้องปฏิบัติการแบบ Stand และ Modified Proctor ได้นำมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจากการทดสอบพบว่าการทดสอบการบดอัดในห้องปฏิบัติการมีผลกระทบต่อการแตกของเม็ดดินของหินคลุกอย่างมากในขณะที่มีผลกระทบต่อทรายน้อย และยังพบปัจจัยที่มีผลต่อการแตกของเม็ดดินคือขนาดของเม็ดดินและส่วนประกอบทางเคมีของเม็ดดิน การทราบถึงแนวโน้นในการแตกของเม็ดดินจากการทดสอบการบดอัดดินในห้องปฏิบัติการจะช่วยในการวิเคราะห์ผลการทดลองนี้เพื่อใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสนาม
This resratch project describes a study of the tendency of soil particle breakage due to laboratory compaction test. The study is performed on 8 cohesionless soils originated from the Eastern of Thailand Grain size characteristics of those soils are compared between before and after subjected to standard and modified proctor compaction test. The results show that the laboratory compaction test considerably affects the breakage of gravel, whereas it has less effect on sand. The factors that control the tendency of breakage of soil particels are their grain sizes chemical constituents. The knowledge of the tendency of soil particle breakage due to laboratory compaction test is useful for an application of the laboratory compaction test results to the real field construction.