Abstract:
การศึกษาความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของสารลดแรงตึงผิวประจุลบในผงซักฟอกในสภาวะที่มีออกซิเจน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของสารลดแรงตึงผิวประจุลบในผงซักฟอกในสภาวะที่มีออกซิเจน และศึกษากลไกการย่อยสลายทางชีวภาพของสารลดแรงตึงผิวประจุลบ เพื่อหาจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารลดแรงตึงผิวประจุลบได้ โดยสารลดแรงตึงผิวที่ศึกษาคือ ลิเนียร์แอลคิลเบนซียซัลโฟเนต (LAS), แอลฟาโอลิฟินซัลเฟต (AOS), แอลกอฮอล์เอสเทอร์ซัลเฟต (AES), แฟตตีแอลกอฮอร์ซัลเฟต (FAS) และสารลดแรงตึงผิวผสม (LAS : AES, 30 : 70) จากผลการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของสารลดแรงตึงผิวประจุลบ พบว่า จุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการทดสอบไม่มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายสารลดแรงตึงผิวประจุลบได้ และได้มีการศึกษาจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำจุลินทรีย์ที่เตรียมจากถังบำบัดนำเสียของโรงงาน เพื่อทำการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของ SLS พบว่าจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการทดสอบไม่สามารถย่อยสลาย SLS ได้ นอกจากนี้ยังทำการศึกษากลไกการย่อยสลายทางชีวภาพของสารลดแรงตึงผิวประจุลบ เพื่อหาจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารลดแรงตึงผิวประจุลบได้ จากการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์ Pseudomonas putida มีความสามารถในการย่อยสลาย SLS ดีที่สุดเนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่มีเอนไซม์ Alcohol dehydrogenase, Aldehyde dehydrogenase และ Acyl CoA. Syntertase ที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารลดแรงตึงผิวประจุลบได้ดี