DSpace Repository

โครงการผลกระทบของปริมาณซีเรียมออกไซด์ เซอร์โครเนียมออกไซด์ต่อความว่องไวในการเร่งปฏิกิริยา

Show simple item record

dc.contributor.author เอกรัตน์ วงษ์แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1189
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเตรียมตัวรองรับอลูมิน่าเมื่อมีการใช้สารโปรโมทจำพวกซีเรียมออกไซด์และเซอร์โครเนียมออกไซด์ ตัวรองรับที่ได้จะนำไปใช้กับโลหะแพลทินัมเพื่อเร่งปฏิกิริยาคาร์บอนมอนออกไซด์ออกซิเดชัน โดยแบ่งการทดลองหลักออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรกศึกษาผลกระทบของการเติมสารโปรโมทต่อคุณสมบัติของตัวรองรับของตัวเร่งปฏิกิริยาสารที่ใช้คือ ซีเรียมออกไซด์ 〖(CeO〗_2) และเซอร์โคเนียมออกไซด์ 〖(ZrO〗_2) โดยตัวรองรับถูกเตรียมด้วยกระบวนการโซลเจล และเติมแพลทินัมร้อยละ 1 โดยมีน้ำหนัก ด้วยกระบวนการอิมเพรคเนชัน สัดส่วนโดยน้ำหนักของซีเรียมออกไซด์ต่อเซอร์โคเนียมออกไซด์คงที่ที่ 60 ต่อ 40 จากการทดลองพบว่าตัวรองรับแบบอลูมินาเพียงอย่างเดียวได้พื้นที่ผิวจำเพาะ 190 ตารางเมตรต่อกรัม และเมื่อเติมสารโปรโมทบนตัวรองรับปริมาณต่างกันคือ ร้อยละ 20, ร้อยละ 40, ร้อยละ 60 และร้อยละ 100 โดยน้ำหนัก ให้พื้นที่ผิวจำเพาะ 215 ตารางเมตรต่อกรัม, 194 ตารางเมตรต่อกรัม, 147 ตารางเมตรต่อกรัม และ 47 ตารางเมตรต่อกรัมตามลำดับ ตัวรองรับทุกตัวถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRD พบว่าซีเรียม และเซอร์โครเนียมมีการทำปฏิกิริยาทำให้รูปแบบที่เกิดอยู่ในตัวรองรับเป็นสารประกอบคอมโพสิท 〖Ce〗_(2 ) 〖Zr〗_2 O_7 จากนั้นนำตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ทั้งหมดไปทดสอบความว่องไวในการเร่งปฏิกิริยาคาร์บอนมอนอกไซด์ออกซิเดชัน โดยใช้ก๊าซผสมที่ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ร้อยละ 1 ก๊าซออกซิเจนร้อยละ 1 และก๊าซฮีเลียมร้อยละ 98 โดยปริมาตร พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเติมสารโปรโมทผสมกับตัวรองรับในปริมาณร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ดีกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาอื่นๆ โดยสามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทั้งหมดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อุณหภูมิประมาณ 160 องศาเซลเซียส ขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่การเติมสารโปรโมทในสัดส่วนร้อยละ 20, 60 และ 100 โดยน้ำหนัก ได้ค่าคอนเวอร์ชันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิประมาณ 170, 190 และ 300 องศาเซลเซียสตามลำดับ ขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่มีการเติมสารโปรโมทเลย เมื่อนำมาทดสอบจะได้ค่าคอนเวอร์ชันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิประมาณ 220 องศาเซลเซียส th_TH
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปฏิกิริยาเคมี th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title โครงการผลกระทบของปริมาณซีเรียมออกไซด์ เซอร์โครเนียมออกไซด์ต่อความว่องไวในการเร่งปฏิกิริยา th_TH
dc.type Research
dc.year 2551
dc.description.abstractalternative In this work, the activities of platinum over alumina promoted with cerium oxide and zirconium oxide were investigated. Each support contained various weight percents of cerium oxide and zirconium oxide to alumina was prepared by sol gel method. The weight percent of cerium oxide to zirconium oxide was kept constant at 60 to 40. Specific surface areas of each support were measured. It was found that the addition of 20%〖CeO〗_2_〖ZrO〗_2 in alumina support offered the highest specific surface area of 215 m²/g. Furthermore, crystalline phase and size of mixed oxide were determined by XRD. XRD result also showed that 〖Ce〗_(2 ) 〖Zr〗_2 O_7 was formed in the support. The amount of cerium oxide, zirconium oxide and alumina had a strong effect to their crystalline size in the final oxide. Then, each support was impregnated with 1%Pt loading and tested its activity to CO oxidation reaction. The result showed that T_(1/2) of each catalyst was 210ºC, 139ºC, 145ºC, 150ºC and 261ºC for a 1%Pt/〖Al〗_(2 ) O_3 a 1%Pt/20%CeO_(2 )_ZrO_(2 )/〖Al〗_(2 ) O_3, a 1%Pt/40%CeO_(2 )_ZrO_(2 )/〖Al〗_(2 ) O_3 a 1%Pt/60%CeO_(2 )_ZrO_(2 )/〖Al〗_(2 ) O_3 and a 1%Pt/CeO_(2 )_ZrO_(2 ), respectively. The enhancement of platinum over alumina catalyst resulted from an oxygen storage property of cerium oxide together with zirconium oxide. Finally, the 1%Pt/40%CeO_(2 )_ZrO_(2 )/〖Al〗_(2 ) O_3 has showed the best activity to CO oxidation. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account