dc.contributor.author |
ภูริกา โพธิรักษานนท์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:01:21Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:01:21Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1176 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวอย่างแหล่งดินที่ดีที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอิฐดินซีเมนต์ประสาน และออกแบบอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดระหว่างปูนซีเมนต์และดิน เพื่อที่จะสามารถผลิตอิฐดินซีเมนต์ประสานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีความแข็งแรงสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างท้องถิ่นราคาถูกได้ตลอดจนถ่ายทอดผลงานวิจัยนี้ต่อชุมชน การดำเนินการจัดทำโครงการวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติของดินที่จะใช้เป็นวัตถุดิบ และเริ่มศึกษาหาข้อมูลพร้อมกับสำรวจแหล่งดินที่มีอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดิน เมื่อได้ตัวอย่างดินครบตามต้องการแล้วจะเป็นขั้นตอนการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปวิเคราะห์ผลและคัดเลือกแหล่งดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดไปใช้เป็นวัตถุดิบ หลังจากได้แหล่งดินที่เหมาะสมแล้วจึงทำการออกแบบส่วนผสมโดยออกแบบอัตราส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับดินให้มีอัตราส่วนต่าง ๆ กันหลาย ๆ อัตรา ส่วนแล้วจึงทำการอัดก้อนตัวอย่างอิฐดินซีเมนต์ตามอัตราส่วนที่ได้ออกแบบไว้ หลังจากได้ก้อนตัวอย่างอิฐดินซีเมนต์แล้วจะเป็นขั้นตอนการทดสอบความต้านแรงอัด (Compressive strength) การทดสอบการดูดซึมน้ำ (Water absorption) การทดสอบความทนทาน (Durability) หลังจากการทดสอบจะนำค่าที่ได้ไปคำนวณวิเคราะห์ผล ซึ่งสรุปได้ว่าการผลิตอิฐดินซีเมนต์ที่ใช้ดินลูกรังในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีที่มีคุณสมบัติทางกายภาพผ่านตามมาตรฐานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยคือ ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อ ดินลูกรัง 7 ส่วน
อิฐดินซีเมนต์ประสานที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งในการเลือกใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง นื่องจากอิฐดินซีเมนต์ประสานมีประโยชน์หลายอย่างและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างท้องถิ่นราคาถูก |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ดินซีเมนต์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.subject |
อิฐดินซีเมนต์ประสาน |
th_TH |
dc.title |
ศึกษาและออกแบบส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อความแข็งแรงของอิฐดินซีเมนต์โดยใช้ดินในท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
Mix design study of Soil-cement brick by using Chonburi soil. |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2547 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this project are to select the samples of good soil sources found in the local of Chonburi for using the soil as one of the materials in producing the composite of brick, soil and cement, to design the most appropriate ratio between soil and cement, and to produce the composite of brick, soil and cement that has quality and standard. Design, it will be cheap construction material found in the local of Chonburi.
The process of the project begins with searching about qualification of the soil which is used for raw material and about the soil sources from each district in Chonburi. The next step is finding soil samples to test in laboratory for seeking in the engineering qualification of the soil. After that, it is the step of the mixture’s design by designing various ratio. Then, the brick soil and cement will be pressed as designed. Next, the step is the qualification tests which are compressive strength test, Water absorption test and Durability test. Finally, the rates from the tests are analyzed and concluded to choose the most appropriate ratio of block sample which has quality and standard. The most appropriate ratio of the sample is 1 part of cement per 7 parts of Chonburi soil.
The composite of brick, soil and cement from the tests is an interesting construction material to choose for construction work because there are several benefits and suitable qualifications which are not only to find the materials in the local but also to save money. |
en |