Abstract:
การทดสอบลักษณะเฉพาะของออกไซด์ผสมเซอร์โคเนียมออกไซด์และแลนทาเนียมออกไซด์โดยการเตรียมออกไซด์ผสม 2 วิธีคือ วิธีตกตะกอนและวิธีอิมเพรค
เนชันซึ่งทำการทดสอบโดยการหาพื้นที่ผิวจำเพาะและโครงสร้างรูพรุนโดยวิธีบีอีที (Brunauer-Emmett-Teller Method) การทดสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์ทางความร้อนด้วยเครื่องมือ Thermo Gravimetric Analysis (TGA) -Differentail Thermal Analysis (DTA) ผลการทดสอบพบว่าออกไซด์ผสมที่เตรียมโดยวิธีอิมเพรคเนชันมีค่าพื้นผิวที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับออกไซด์ผสมที่
เตรียมโดยวิธีการตกตะกอน นอกจากนี้พบว่าปริมาณ La อยู่ในช่วง 25-50% โดยโมลเตรียมโดยทั้งสองวิธีมีลักษณะรูพรุนเช่นเดียวกับเซอร์โคเนียมออกไซด์บริสุทธิ์ลักษณะคล้ายขวดหมึก (ink bottle likr pore) และมีขนาด 4-13 nm เมื่อนำไปทดสอบความเปลี่ยนแปลงเฟสของเซอร์โคเนียมออกไซด์พบว่าการเตรียมโดยวิธีการตกตะกอนเมื่อปริมาณ La อยู่ในช่วง 25-50% โดยโมลแสดงลักษระการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับเซอร์โคเนียมออกไซด์บริสุทธิ์ แต่ตำแหน่งการคาย
ความร้อนเพื่อจัดเรียงตัวของโครงสร้างใหม่เกิดขึ้น ณ ตำแหน่งสูงกว่าตำแหน่งของเซอร์โคเนียมออกไซด์บริสุทธิ์ เมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวใช้เร่งปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันที่อุณหภูมิ 65C อัตราส่วนของเมทานอลต่อน้ำปาล์มเท่ากับ 1:6 โดยโมล ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็ง 10% โดยน้ำหนักพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ผสมดังกล่าวมีความแข็งแรงของเบสไม่เพียงพอที่จะเร่งปฏิกิริยาจึงไม่เกิดปฏิกิริยา จึงไม่เกิดผลิตภัณฑ์เป็นเมทิลเอสเทอร์