DSpace Repository

การออกแบบการจัดผังโรงงานและอุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุโดยการจำลองปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

Show simple item record

dc.contributor.author ฤภูวัลย์ จันทรสา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:20Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:20Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1165
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงแผนผังและระบบการขนถ่ายวัสดุแผนกตรวจสอบคุณภาพ โรงงานอุตสาหกรรมหล่อโลหะ โดยประยุกต์ใช้หลักการวางผังอย่างเป็นระบบ (Systematic Layout Planning) ในการวิเคราะห์และออกแบบแผนผังตลอดจนออกแบบระบบการขนถ่ายวัสดุ และหลักการการจำลองปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของแผนกตรวจสอบคุณภาพ การดำเนินการวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาสภาพการดำเนินงานและแผนผังเดิมก่อนปรับปรุงซึ่งพบปัญหาที่สำคัญคือ การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งงานไม่มีความต่อเนื่องและอุปกรณ์การขนถ่ายไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ชิ้นงานเสียหายและพนักงานเกิดความเมื่อยล้าในการทำงาน จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง โดยใช้เทคนิค Activity Relationship Diagram และวิเคราะห์สำดับขั้นตอนการตรวจสอบชิ้นงานด้วยเทคนิค From to chart และได้ออกแบบระบบการขนถ่ายโดยใช้ลูกกลิ้งลำเลียงผลการดำเนินงานได้แผนผังทางเลือกใน 3 รูปแบบ คือแบบ A,B และ C ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขนถ่ายเพิ่มขึ้น 13.27 เปอร์เซ็นต์ 32.84 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากนั้นได้เลือกแผนผังแบบ B เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ผลการปรับปรุงผังและระบบการขนถ่ายได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการจำลองปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพของผังโรงงานใหม่เปรียบเทียบกับผังก่อนปรับปรุงมีเวลาเฉลี่ยของชิ้นงานในระบบลดลงเป็น 49.4 นาที คิดเป็นเวลาที่ลดลง 22% th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนการวิจัยและพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การออกแบบ th_TH
dc.subject ผังโรงงาน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การออกแบบการจัดผังโรงงานและอุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุโดยการจำลองปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ th_TH
dc.type Research
dc.year 2553
dc.description.abstractalternative This research was to improve a layout and material handling system of quality control department in the foundry industry. The research applied Systematic Layout Planning (SLP) to analyze and design new layout and material handling systems, as well as computer simulation for improving the efficiency of the operations in the department. The research began with studying current operations and layout before improvement. The study found that main problems were discontinuing in part inspection process, inefficiency in the material handling systems resulting in part defects and workers’ fatigue. Then, the analyses for the relationship between the various works were performed using Activity Relationship Diagram. The route sequences for part inspections were then analyzed applying From-To Chart. The material handlings systems were redesigned using the roller conveyor systems. As the results, the altemative layouts were designed into 3 types namely, A, B and C which increased the efficiency of 13.27 percents, 32.84 percents, and 18.85 percents, respectively. Consequently, the layout B was selected to further improve. The new layout design was analyzed with computer simulation approach comparing with that of before improvement. The result showed that average cycle time of part in the system was reduced to 49.4 minute, which was 22% of cycle time reduction. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account