dc.description.abstract |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของสภาพน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนบน โดยการรวบรวมข้อมูลจากรายงานการศึกษาหรือรายงานวิจัยที่มีอยู่เดิม โดยมีข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้อมูลคุณภาพน้ำทะเล อันประกอบด้วย อุณหภูมิของน้ำทะเล ระดับความเค็ม ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าบีโอดี ค่าปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม และปริมาณสารอาหารในน้ำทะเล บริเวณชายหาดบางแสน ชายหาดพัทยา และชายหาดจอมเทียน ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลสภาพอุตุนิยมวิทยา เพื่อวิเคราะห์กลไกการเปลี่ยนคุณภาพน้ำตามฤดูกาลของพื้นที่ศึกษา
จากข้อมูลพบว่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูการของคุณภาพน้ำบริเวณที่ศึกษามีไม่มากนัก ระดับออกซิเจนละลายน้ำมีการเปลี่ยนแปลงมากระหว่างช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับปริมาณสารอาหารในน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติและเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีในช่วงเดียวกันนี้อยู่บ่อยครั้ง สาเมตุการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารอาหารยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด ด้วยความถี่ในการเก็บข้อมูลที่ไม่ละเอียดนัก ทำให้ไม่สามารถจะวิเคราะห์กลไกของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะในการตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องและมีความละเอียดสูง เช่น รายวันหรือรายชั่วโมง และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถจำลองชลพลศาสตร์นิเวศวิทยาของสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อจำลองสถานการณ์และศึกษากลไกทางกายภาพที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าวข้างต้นได้
This study presents the seasonal changes of water quality along the eastern coastal area of
the upper part ofthe Gulf of Thailand. Water quality data, which are temperature, salinity, pH, DO,
BOD, total colifonn bacteria, faecal coliform bacteria and nutrient in marine water in some
representative years from Bangsaen Beach, Pattaya Beach and Jomtien Beach as well as
geographical data and meteorological data in order to analyze the mechanism of the seasonal
changes of water quality in the vicinity of the study areas.
From the data it is found that the water quality around the study does not change so much
as season changes. Dissolved oxygen often decreases from June to October at the same time as the
nutrients in seawater unusually increase, namely eutrophication. The eutrophication brings about the
plankton bloom and consequently the red tide. This natural phenomena often occur around June to
August. The cause of the eutrophication is still obsure because of too rough data. This study
recommend that the intensive measurement of water quality, for example daily or hourly
measurement, and the development of hydrodynamic and ecological numerical model are essential
so as to analyze the physical mechanisms ofthosc natural phenomena in the local study area. |
th_TH |