dc.contributor.author | วนิดา สกุลรัตน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:01:18Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:01:18Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1134 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง แบบจำลองส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการการช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย เพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนในระดับคณะ/ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลจากบุคลากรมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอนและมีผลงานวิจัย สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 19 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview From) สามารถสัมภาษณ์ได้ 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.47 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และตารางสรุปข้อคิดเห็นเป็นรายกลุ่มในแต่ละประเด็น แล้วประมวลสรุปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ดังนี้ สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ประเภทประดิษฐ์คิดค้นคือ อาจารย์มีภาระงานสอนมากไม่มีเวลาทำวิจัย การรวมกลุ่มกันทำวิจัยยังมีน้อย ผู้วิจัยบางคนไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างที่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้บ้างที่ทำอยู่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้หรือไม่ อาจารย์ระดับปริญญาเอกที่จบกลับมาใหม่ๆ พบความไม่พร้อม บรรยากาศ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ผ่านไป 3-5 ปี ก็จะหันไปทำวิจัยพื้นฐานที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ นอกจากนี้ยังขาดผู้วิจัยอาวุโสที่เป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้ข้อแนะนำ ความต้องการการช่วยเหลือการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยประเภทประดิษฐ์คิดค้น ต้องการให้หน่วยงานสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้วทำงานเชิงรุกให้เป็นที่รู้จัก และจ้างมืออาชีพมาให้ความรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะจดสิทธิบัตรได้ และควรดูแลงานวิจัยที่ทำเพื่อสังคมบ้าง ควรแก้ไขระเบียบด้านผลประโยชน์ให้ผู้ประดิษฐ์ได้รับจัดสรรอย่างน้อยร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิ ให้โอกาสและสถานที่จัดแสดงผลงาน กำหนดให้ผลงานเป็น KPI (Key Performance Indicator) ของสาขาขาดแคลน และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีควรสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง อีกทั้งการร่วมงานกับภาคเอกชน ควรมีผู้ประสานงานดูแลด้านการตลาด นำโจทย์ปัญหามาให้อาจารย์ผู้สนใจคิด ก่อให้เกิดรายได้และชื่อเสียง สำหรับการศึกษาแนวทางการสนับสนุนในระดับคณะ/มหาวิทยาลัย ในกลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุงาน 3 ประการ ได้แก่ แรงจูงใจ นโยบาย/ยุทธศาสตร์ และหน่วยบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ประมวลข้อคิดเห็นต่างๆ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นแบบจำลองส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพามุ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ในนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ควรกำหนดให้ชัดเจน และส่งเสริมให้มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องคณะวิศวกรรมศาสตร์ผู้สนใจด้านการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างนวัตกรรมใหม่ๆอยู่แล้ว ควรให้การสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไปจนได้รับการจดสิทธิบัตร คณะอื่น ๆ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ สามารถใช้รูปแบบการส่งเสริมนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลได้ งานวิจัยสถาบันฉบับนี้เป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นปัญหา ความต้องการและแนวทางที่ควรจะเป็นไปของการสร้างสรรค์งานวิจัย ประเภทประดิษฐ์ คิดค้นได้เป็นอย่างดี ควรนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรต่อไป | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ทรัพย์สินทางปัญญา | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | แบบจำลองการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | A Model for Intellectual Property (IP) Promotion in the Faculty of Engineering, Burapha University | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this qualitative research were to study problems and obstacle in creation of ingenuity works, to study a guidelines to support the researchers’ needs in creation the intellectual properties in faculty and university levels and to find a possible model to support this type of research works. Data were collected from 3 groups of Engineering itself and the executive committee of Burapha University. The structural interview form was used in this purposive sampling in which 19 persons were selected to be interviewed. Anyways, 17 persons were real interviewed, 89.47 percent. Data were analyzed by finding the percentage and grouping all comments for each issue which could be concluded as following: Problems and obstacle for ingenuity invention research was that the lecturers has too much work load and had less time for the researches and could hardly form the research group. Some researchers hardly knew what kind of works could be patented or what those they have done could be patented or not. Newly doctorate lecturers found the unready atmosphere at work and it was too late to begin the basic research which could be patented when 3-5 year passed by. In addition, they lacked of senior researchers or mentors to supervise as well. The important thing to their needs could be met was that the support unit for intellectual properties in university itself should proactively work to be more well known or professional supervisors for this type of works should be provided to guide how their ingenuity work could be patented. The researches for social should be taken more attention. The regulation for benefit dividing should be revised so that the inventors should receive at least 50% of the net income. Researchers should have more places and opportunities to exhibit their works. Their ingenuity work should be specified to be one of the key performance indicators of the shortage areas and should be a good performance for the annual promotion. It should have been supported to produce more research works and in continuously manner, including a good connection with the private sector. It should have a marketing co-ordinator to take the problems to researchers directly so that the successfulness would have been expected. Guidelines for the support in faculty and university levels was revealed from the 5-29 years working period personnel that they agreed in having these type of ingenuity work more. These factors affecting: motivation, policy/ strategy and the intellectual property serving unit in the university itself should have been consistent related in both faculty and the university levels. This study, all comments and data, including relevant papers were processed, and finally the model promoting the intellectual properties in the faculty engineering could be constructed as the following picture: Comments and suggestion As Burapha university is focusing to be research university, the policy and research strategy should be clearly specified and research should be promoted continuously. The interested researchers in the faculty of Engineering should be supports, until their works could be patented. This model could be successfully used in other faculties, such as Sciences, Pharmaceutical Sciences, including Medical Faculty. This kind of academic research could be well reflex the problems and actual needs, including possible guidelines of ingenuity research work and it should be further used for the administration of organization. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |