Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ดัชนีทางชีวภาพและอาการแสดงนำมาประเมินการสัมผัสสารตัวทำลายอินทรีในกลุ่มของ Aromatic Hydrocarbons ของกลุ่มช่างไม้ (ศึกษาเปรียบเทียบที่เรือนจำของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการการศึกษามี 193 คน เป็นกลุ่มศึกษา 97 คนและกลุ่มควบคุม 96 คน เป็นเพศชายทั้งหมด กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 34.3 ปีและ 33.5 ปีสำหรับกลุ่มควบคุม สภาพการทำงานในแต่ละวันของกลุ่มศึกษาที่มีหน้าที่ช่างไม้ช่างไม้นาน 4 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 41.2) และมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายระบบทางเดินหายใจร้อยละ 89.7 โดยที่ร้อยละ 42.3 เท่านั้นที่มีการใช้ผ้าปิดจมูกทุกครั้ง และเมื่อสิ้นสุดการทำงานของกลุ่มศึกษาพบว่าตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 40 มีอาการแสดงเกี่ยวกับการปวดศรีษะ มึนงง มีปัญหาในการนอน ระคายเคือง เวลาลุกขึ้นเร็วๆ ตาจะพร่ามัว เมื่อยล้าทั่วร่างกาย ปากแห้ง แขนขาชาและไอ
ในการเก็บตัวอย่างอาการใช้ Organic Vapor Manitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับหายใจของตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดและมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Dicholromethane 0.42 0.37 ppm,Toluene 11.99 14.85 ppm,Butyl acetate 0.42 0.17ppm,Ethyl acetate 1.76 3.70 ppm,Xylene 0.42 1.07 ppm และ Styrene 0.21 0.91 ppm นอกจากนี้พบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Dichloromethane,Toluene และ Anetone ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-vataiue<0.001)และยังพบว่าในกลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Hippuric acid 863.43 755.11 mg/g Creatinine,Methylhippuric acid 62.35 105.58 mg/g
creatinine,Mandelic acid 268.43 303.17 mg/g creatinine และ acetone 6.71 5.78 mg/L และพบว่าค่าเฉลี่ยของ Hippuric acid และ Madelic acid ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) นอกจากนี้แล้วยังพบว่า ปริมาณระดับความเข้มข้นของ Toluene ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลกับปริมาณระดับความเข้มข้นของ Hippuric acid ในกลุ่มศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.341,p-value=0.006) อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักไดว่า กลุ่มช่างไม้ในเรือนจำมีการสัมผัสสารตัวทำลำลายในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons ในขณะปฏิบัติงานและควรจัดอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกัน รวมถึงควรมีอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป