DSpace Repository

การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ th
dc.contributor.author สรร กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author คนึงนิจ อุสิมาศ th
dc.contributor.author เบญจมาศ อุสิมาศ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1102
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคและการศึกษารับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม รวมทั้งศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ประชากร คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 ที่มารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 4,125 คน มี Inclusion Criteria ดังนี้ คือ 1) มีเส้นรอบเอว ในผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ในผู้หญิงมากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร 2) มี 2 ปัจจัยใน 4 ปัจจัยต่อไปนี้ 2.1 ระดับไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2.2 ระดับ HDL-C ในผู้ชายน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิงน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2.3 ความดันเลือด Systolic มากกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท Diatolic มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง 2.4 ระดับกลูโคสในเลือด FPG (Fasting plasma glucose) มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งจากการคัดกรองตาม Criteria ในข้อที่ 1 พบว่า มีนิสิตที่มีขนาดรอบเอวเกินมาตรฐานจำนวน 323 คน คิดเป็นร้อยละ 7.83 ของกลุ่มประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งทำการตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าสถิติความถี่และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Content analysis) ซึ่งได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนตุลาคม 2548-กันยายน 2550 เป็นระยะเวลา 2 ปี เนื่องจากมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจกับกลุ่มตัวอย่างและการนัดหมายเพื่อคัดกรองนิสิตตามเกณฑ์ของการวิจัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีนิสิตจำนวน 323 คน มีขนาดของเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 7.83 และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (เพศหญิงร้อยละ 59.44, เพศชายร้อยละ 40.56) จากการคัดกรองนิสิตที่มีขนาดรอบเอวเกินจำนวน 323 คน พบว่า 1. มีนิสิตที่มีความดันเลือด Systolic มากกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท Diatolic มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอทหรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.12 พบในเพศชาย (ร้อยละ 9.81) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 5.73) 2. ผลการตรวจระดับไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.09 และพบในเพศชาย (ร้อยละ 5.34) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 1.56) 3. ผลการตรวจระดับ HDL-C ในผู้ชายน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิงน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.47 พบในเพศชาย (ร้อยละ 3.05) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 2.15) 4. ไม่พบนิสิตที่ตรวจระดับกลูโคสในเลือด FPG (Fasting plasma glucose) มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากผลการวิเคราะห์ Inclusion Criteria เพื่อคัดกรองนิสิตที่มีภาวะ Metabolic Syndrome พบว่าเป็นเพศชาย 7 คน (ร้อยละ 5.34) เพศหญิง 3 คน (ร้อยละ 1.56) รวมเป็น 10 คน คิดเป็นร้อยละ 3.09 ผลการสัมภาษณ์นิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคจำนวน 10 ราย ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพพบว่า นิสิตส่วนใหญ่รับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แต่ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมในการชอบรับประทานอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวที่มีลักษณะเป็นขนมถุงกรุบกรอบ โดยที่มักจะรับประทานในเวลาว่างระหว่างมื้อ ส่วนขนมหวานมีบางคนเท่านั้นที่ชอบรับประทาน และเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้คือ น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ส่วนใหญ่ชอบเล่นกีฬาแต่ติดภารกิจในการเรียน และมีการบ้านมาก ทำให้ไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย กีฬาที่นิสิตชายส่วนใหญ่ชื่นชอบคือ ฟุตบอล ส่วนนิสิตหญิง คือ การเล่นแบดมินตันหรือแอโรบิค การรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง นิสิตส่วนใหญ่ต้องการลดน้ำหนักและสัดส่วนให้ได้ตามขนาดมาตรฐาน เพื่อให้มีความคล่องแคล่วว่องไวขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ และสามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าสวมใส่ได้ง่ายและสวยงาม การรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเคยใช้หลายๆวิธีแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดความมีวินัยในการควบคุมตนเองและบางครั้งก็ต้องการให้มีผู้อื่นเป็นผู้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือสนับสนุนในการควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกาย ผู้ที่นิสิตรับรู้ว่ามีอิทธิพลต่อตนเองในการควบคุมพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ที่สำคัญที่สุดคือ ตนเอง เพื่อน และตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมพฤติกรรม การสนับสนุนทางสังคมที่นิสิตต้องการมากที่สุด คือ การสนับสนุนด้านอารมณ์ เนื่องจากนิสิตส่วนใหญ่ต้องการให้มีผู้คอยช่วยเหลือ เอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจและเป็นกำลังใจในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อควบคุมพฤติกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนการสนับสนุนเชิงการประเมินค่า นิสิตให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงมา โดยมีความเห็นว่า หากได้รับการเสริมแรง การช่วยเหลือโดยการจัดโปรแกรมการควบคุมและลดน้ำหนัก รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง จะทำให้เขาสามารถเลือกแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. ควรมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสรมสุขภาพให้มากขึ้น 2. ควรจัดให้มีการจัดตั้งชมรม “นิสิตรักษ์สุขภาพ” และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย Internet หรือ Intranet 3. ควรจัดโปรแกรมการควบคุมพฤติกรรมและการพัฒนาร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานภายใต้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพทั้งทางด้านโภชนาการ จิตวิทยา และการออกกำลังกาย 4. ควรมีรูปแบบของการติดตาม ประเมินผล และสร้างความยั่งยืนในการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนิสิต และการคัดกรองนิสิตที่อาจจะเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยที่มีความไวในการตรวจสอบให้เกิดความครอบคลุมนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย 5. ควรบูรณาการความร่วมมือจากทุกคณะในการสร้างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้เกิดกับนิสิตทุกคน th_TH
dc.description.sponsorship ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2549 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นักศึกษา - - สุขภาพและอนามัย th_TH
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject สุขภาพ - - การดูแล th_TH
dc.subject เบาหวาน - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.title การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Health status, Health perception, Health promotion behavior and social support of pre-diabetic and metabolic syndrome in student: Burapha University th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2551
dc.description.abstractalternative The purpose of this descriptive research were designed to describe the health status, health perception, health promotion behavior and social support of pre-diabetic and metabolic syndrome in students: Burapha University the 323 participants (7.83%) were the sample from the first inclusion criteria. Statistics employed were frequency, percentage and content analysis. It was found that the comparison of health status were not difference between female and male (59.66%, 40.56%). The student have hypertension risk 23 persons (7.12%), high blood Triglyceride 10 persons (3.09%), low HDL-C 8 persons (2.47%) and did not have high fasting plasma glucose. The10 participants (3.09%) were found that be Metabolic Syndrome. Male were 7 persons (5.34%) and female were 3 persons (1.56%). By indept-interview of Metabolic Syndrome student found that they have good perception in risky chance of disease but cannot control their behavior for improve their health. Almost did not exercise and received to improve their image and well organized for batter health. The important for support them were themselves, friends and the successful persons who was healthy. The most social support were emotional support to empowerment them for improve their habits and give them information. The suggestion for solving this problem were more communication, building the foundation of Healthy Student, creating communication channel such as the internet or intranet network, initiation the effective program for control their body weight, nutrition, exercise and emotion. Then should be have a continuous evaluation system and screening risky students rapidly. Finally It should be integrated corporation over all the university to promote students health behaviors.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account