Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงศ์เพื่อศึกษาทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยที่มีต่อผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีภาคปกติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ step wise rendom ได้มา 18 วิชาเอกจาก 50 วิชาเอก และร้อยละ 50 ของนิสิตที่มีในแต่ละวิชาเอกที่สุ่มได้รวมจำนวน 817 คน ประกอบด้วยนิสิตหญิง 390 คน และนิสิตชาย 227 คน การเก็บข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถาม "The Aging Semantic Differential - ASD" ของ Rosencranz and McNevin ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยและได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ยของทัศนคติรวมของกลุ่มตัวอย่างเป็นรายข้อ และจำแนกตามเพศหญิงและเพศชาย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้สูงอายุเอนเอียงไปในทางบวกมากใน 5 รายการ คือ มีความเป็นมิตร (x ̅=2.20) มีความเอื้อเฟื่้อเพื่อแผ่ (x ̅=2.25) ยังทำประโยชน์ได้อีกมาก (x ̅=2.37) เชื่่อถือได้ (x ̅=2.47) และไม่ชอบอยู่นิ่ง (x ̅=2.50) ส่วนทัศนคติในทางลบทั้นในภาพรวมและพิจรารณาแยกตามเพศหญิง และเพศชายพบว่ามีเพียง 2 รายการ คือ เป็นผู้อนุรักษ์นิยมและโบราณ จากข้อมูลที่ปรากฎดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปโดยทั่วไปว่า นิสิตภาคปกติระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพามีทัศนคติต่อผู้สูงอายุส่วนใหญ่ "ทั้งบวกและลบพอๆกัน" คือ เป็นกลางๆเมื่อพิจารณาแยกตามเพศหญิงและเพศชาายมีเพียง 4 รายการที่เป็นทัศนคติในทางบวกค่อนข้างมาก คือ มีความเป็นมิตร มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยังทำประโยชน์ได้อีกมาก และเชื่อถือได้ จำน่าจะมีโปรแกรมทางการศึกษา เพื่อปรับปรุงและส่งเสริมทัศนคติของคนหนุ่มสาวที่มีต่อผู้สูงอายุให้มีความเป็นบวกในรายการต่างๆเพิ่มขึ้น