DSpace Repository

ปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ และรูปแบบในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในระดับครอบครัว ในเขตจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author จินตนา วัชรสินธุ์ th
dc.contributor.author พิศมัย หอมจำปา th
dc.contributor.author ธิดารัตน์ สุวรรณ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1075
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ และรูปแบบในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โดยครอบครัว ในเขตจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารรับบริการที่โรงพยาบาลเมืองระยองและมาร่วมกิจกรรมชมรมผู้ติดเชื้อ จำนวน 132 คน และ 59 ครอบครัว สำหรับการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในระดับครอบครัวจำนวน 16 ครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบดังนี้ 1. สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบของการดูแลในระดับครอบครัว พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และผู้ดูแลในครอบครัวได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวในระดับมาก มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง มีความสัมพันธ์กับผู้ดูแลในครอบครัวอยู่ในระดับสูงและมีความต้องการการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง และผู้ดูแลในครอบครัวมีทัศนคติต่อการติดเชื้อเอชไอวีในระดับดี 1.1 การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวของครอบครัวผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของครอบครัวผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วย การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และทัศนคติของครอบครัวผู้ดูแลต่อการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2 ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์รู้สึกถูกจำกัดอิสระภาพ รู้สึกเป็นปมด้อย วิตกกังวลว่าคนอื่นจะรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี กลัวสังคมรังเกียจ และกลัวให้ออกจากงาน ครอบครัวเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ครอบครัวเชื่อว่าเอดส์เป็นเพียงโรคโรคหนึ่งเมื่อเป็นแล้วก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ และเชื่อว่าการติดเชื้อเอชไอวีช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว สมาชิกครอบครัวมีความสัมพันธภาพดีต่อกัน ครอบครัวพัฒนาความสามารถความมั่นใจและความภูมิใจในการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ไม่รู้สึกว่าการดูแลเป็นภาระ โดยภาพรวมครอบครัวมีความสุขตามอัตภาพ ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์จากการอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ปรึกษาบุคลากรสุขภาพ และผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยแนะนำเหตุผลในการดูแลเพราะเป็นหน้าที่ สงสารไม่มีใครดูแล และดูแลเพราะความรัก นอกจากนี้การติดเชื้อเอชไอวีมีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านสุขภาพกาย จิตสังคม และเศรษฐกิจ ครอบครัวรู้สึกไม่อิสระ กลัวสังคมรังเกียจ วิตกกังวล เครียด รู้สึกเป็นปมด้อย ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ไม่ได้ทำงาน ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ 2. รูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในระดับครอบครัว ดังนี้ 2.1 การยอมรับการติดเชื้อเอชไอวี ครอบครัวเชื่อว่าการยอมรับจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในการมีชีวิตอย่างมีความหวัง มีพลังที่จะต่อสู้ชีวิต 2.2 การไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ครอบครัวเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ครอบครัวอยู่ด้วยกันกับผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ได้ไม่รังเกียจ 2.3 การแสวงหาความรู้ เรียนรู้การดูแลและการช่วยเหลือ ครอบครัวพยายามหาข้อมูล แหล่งช่วยเหลือ และหาความรู้ในการดูแลผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์จากหลายแหล่งและหลายวิธี 2.4 การสนับสนุนให้กำลังใจ ครอบครัวเชื่อว่าถ้าผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์มีกำลังใจ ไม่เครียด จะมีชีวิตอยู่ต่อได้นานขึ้น โดยการพูดคุย อยู่เป็นเพื่อน และทำกิจกรรมด้วยกัน 2.5 การให้คำปรึกษา ครอบครัวเป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งทางจิตใจและสังคมที่สำคัญของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นความต้องการอย่างมากของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ 2.6 การปกปิดความลับ ครอบครัวช่วยกันปกปิดเกี่ยวกับการติดเชื้อของสมาชิกในครอบครัวไม่ให้คนอื่นที่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์ไม่ต้องการให้รู้ 2.7 การเผชิญความเครียดและช่วยผ่อนคลายความเครียด ครอบครัวเชื่อว่าความเครียดมีผลต่อการลดภูมิต้านทานโรค ครอบครัวพยายามไม่ให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเกิดความเครียด 2.8 การปฏิบัติการดูแลรักษาสุขภาพ ประกอบด้วยด้าน 2.8.1 การดูแลเรื่องการให้ยาต้านไวรัสและยาฆ่าเชื้อ 2.8.2 การดูแลเรื่องอาหารที่มีประโยชน์ไม่รับประทานของแสลง 2.8.3 การป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส 2.8.4 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี 2.8.5 การส่งเสริมสุขภาพ 2.8.6 การดูแลเมื่อเจ็บป่วย 2.8.7 การไม่แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลระหว่างครอบครัวที่มาดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล 2.9 การบอกความจริงเกี่ยวกับโรค ครอบครัวต้องการให้แพทย์ผู้รักษาบอกความจริงตั้งแต่แรกว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เพื่อที่ครอบครัวจะได้ปฏิบัติต่อผู้ป่วยได้ถูกต้อง 2.10 การคงไว้ซึ่งคุณค่า ศักดิ์ศรี และเกียรติยศของครอบครัว เมื่อครอบครัวเข้าใจความรู้สึกตนเอง ยอมรับความสามารถและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัวต้องการรักษาศักดิ์ศรี เกียรติยศไว้ 3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เรียกว่าการสนทนาบำบัดครอบครัว ใช้ได้ผลดีกับทุกครอบครัว การทำการสนทนาบำบัดกับครอบครัวเฉลี่ย 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวในทางที่ดีขึ้นคือ ครอบครัวมีพลังอำนาจในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์/ผู้ป่วยเอดส์ ความทุกข์ทรมานของครอบครัวลดลง และครอบครัวสามารถปรับสู่ภาวะสมดุล th_TH
dc.description.sponsorship การศึกษาวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2548 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การพยาบาลในเคหสถาน - - ไทย - - ระยอง - - วิจัย th_TH
dc.subject ผู้ติดเชื้อเอชไอวี - - การดูแลที่บ้าน - - ไทย - - ระยอง - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - ผู้ป่วย - - การดูแลที่บ้าน - - ไทย - - ระยอง - - วิจัย th_TH
dc.title ปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ และรูปแบบในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในระดับครอบครัว ในเขตจังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Family care giving to the persons living with HIV/AIDS : evaluation of problems, potential, needs, and family caring model in Rayong province en
dc.type Research
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to understand the problems and needs of HIV/AIDS patients and their family caregivers, and to explore family caregiving experiences with HIV/AIDS patients in Rayong province. The participants of this study were 132 HIV/AIDS patients and 59 HIV/AIDS primary family caregivers. Data collection consisted of individual in-depth interviews of HIV/AIDS patients and their family caregiver plus focus groups with the family caregivers. Content analysis was performed to analyze the qualitative data. Descriptive statistics included mean, standard deviation, and Pearson Correlation. The results were as follows: 1. HIV/AIDS patients and family caregivers had high self-esteem and good relationships with each other, had health care needs at a moderate level, and received high level of family social support. Family caregivers' attitude toward HIV infection was at an acceptable level. 1.1 Family social support of family caregivers had significant positive correlation between family caregivers and HIV/AIDS patients at .05 level (p<.05). Family caregivers' self esteem had significantly positive correlation between family caregivers and HIV/AIDS patients, family social support of HIV/AIDS patients, and attitudes towards HIV infection at .05 level (p<.05). 1.2 HIV/AIDS patients reported experiences of restricted freedom and inferiority. They also experienced anxiety about disclosing their diagnosis of HIV/AIDS and feared rejection from society and being expelled from their work place. The family caregivers reported understanding these feelings and potential problems of their HIV/AIDS family members. Family member did not experience feelings of rejection, disgust or burden but instead reported having better or closer relationships since the diagnosis of HIV/AIDS in a family member. Families believed that AIDS is a disease that a family has to live with. Families also believed that HIV infection helps increase positive relationships. The family caregivers have developed their own caregiving ability and confidence. The family caregivers obtained khowledge about HIV/AIDS from reading books, watching television, listening to the radio, consulting with health care team members, and from HIV/AIDS patients. In addition, HIV infection had an impact on families in terms of physical, psycho-social health and family income. 2. This family caregiving model that emerged in these HIV/AIDS families is as follows: 2.1) Accepting HIV/AIDS patient's status 2.2) Not being disgusted 2.3) Seeking treatment and help 2.4) Providing family support, specifically emotional and social support 2.5) Providing consultation for HIV/AIDS patients 2.6) Keeping the secret of HIV/AIDS diagnosis from other family members and society 2.7) Coping with stress and achieving relaxation 2.8) Providing care for HIV/AIDS including: 8.1) encouraging treatment procedures such as the taking of antivirus and antibiotic drugs on time, 8.2) encouraging healthy nutrition and inhibiting taboo food, 8.3) preventing secondary infections, 8.4) suggesting prevention of HIV infection to others focusing on the use of condoms, 8.5) encouraging health promotion, 8.6) helping HIV/AIDS family members go to the hospital, and 8.7) not sharing illness experiences with other caregivers or patients at the bedside; 2.9) Telling the truth about diagnosis; and 2.10) Maintaining family values and preserving family dignity. 3. A nursing intervention model for families experiencing HIV/AIDS was developed from this research, the Family Therapeutic Conversation Model. This model was effective in enhancing family competence by reducing suffering, increasing family empowerment in caring for HIV/AIDS family members, and diminishing family emotional disorganization. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account