Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงวิทยาลัย ส่วนภูมิภาค ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ออกเป็น 6 แบบ ตามแนวทางของไรช์แมนและกราซา คือ แบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบมีสัดส่วน แบบหลีกเลี่ยง แบบพึ่งพา และแบบอิสระ โดยศึกษาตามตัวแปรอิสระ คือ โรงเรียนและระดับชั้น การวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนภูมิภาค จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบวัดรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยดัดแปลงมาจากแบบทดสอบวัดรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของอรรถสิทธิ์ วชิรเมธี ตามแนวของไรช์แมนและกราซาแล้วหาความเชื่อมั่นที่มีต่าเม่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ปรากฏผลวิจัยดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวมชอบรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมืออยู่ในระดับค่อยข้างสูง ชอบรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบมีส่วนร่วมแบบพึ่งพาอิสระและแบบอิสระอยู่ในระดับปานกลาง และชอบรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบแข่งขันและแบบหลีกเลี่ยงค่อนข้างต่ำ
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนในโรงเรียนสาธิต 5 แห่ง มีรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบหลีกเลี่ยง แบบพึ่งพา และแบบอิสระ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนสาธิต 5 แห่ง ชอบรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ มากกว่าแบบแข่งขัน แบบหลีกเลี่ยง แบบพึ่งพา และแบบอิสระ ส่วนแบบมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนระดับชั้นต่างกัน มีรูปแบบการเรียนวิชาคณิตศษสตร์แบบหลีกเลี่ยง แบบมีส่วนร่วม และแบบอิสระ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับชั้นต่างกัน ชอบรูปแบบการเรียนคณิตศาสตร์ แบบอิสระมากกว่าแบบมีส่วนร่วมและแบบหลีกเลี่ยง ส่วนแบบแข่งขัน แบบร่วมมือ และแบบพึ่งพาไม่แตกต่างกัน