DSpace Repository

โครงการจัดทำแผนระยะยาว ภาคประชาชนและท้องถิ่น (พื้นที่ภาคตะวันออก)

Show simple item record

dc.contributor.author มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1047
dc.description.abstract เนื่องจากแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว (2533-2547) ได้หมดอายุลง ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์ สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป รวมทั้งบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย การอุดมศึกษาไทยมีวิวัฒนาการไปมาก ดังนั้นการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาวไว้รองรับสถานการณ์ต่อไปที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ สมควรที่จะต้องระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน มาเป็นข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษา ระยะยาว ให้มีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อการพัฒนาระดับท้องถิ่นและประชาชาติให้มากที่สุด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีเครือข่ายบริหารงานวิจัย จำนวน 8 เครือข่าย ที่ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศอยู่ ซึ่งมีการรวมตัวโดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำเนินการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก มาเป็นเวลานานพอสมควร มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาทั้งในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ จึงได้ระดมสรรพกำลังของเครือข่ายบริหารงานวิจัย ช่วยรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้ในการจัดทำแผนระยะยาวต่อไป สำหรับเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคกลางตะวันออกซึ่งมีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นแม่ขายได้ออกทำการเก็บข้อมูลจาก 3 เขตพื้นที่ใน จังหวัดชลบุรี และ 1 เขตพื้นที่ ในจังหวัดระยอง การเก็บข้อมูลนั้นใช้กระบวนการสนทนากลุ่มกับการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบ ตามประเด็นที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนแล้วซึ่งประกอบไปด้วย การอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ข้อเสนอแนะวิธีการที่จะให้มีการอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน อาทิ การศึกษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความร่วมมือของคนในชุมชน และสุขภาพอนามัย บทบาทของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาควรมีส่วนร่วมอย่างไร รวมทั้งความคาดหวังในอนาคต 10-15 ปีที่ทางชุมชนอยากจะเห็นหรือได้จากมหาวิทยาลัย เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า ชุมชนอยากจะให้ผลิตบัณฑิตหรือพัฒนาบุคคลให้เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ สามารถออกไปประกอบวิชาชีพได้ดีและสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับงานได้ดี มีจริยธรรมที่ดี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือมุ่งสู่การพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางนั่นเองมหาวิทยาลัยควรเป็นที่พึ่งในด้านให้การปรึกษาและฝึกอบรมอาชีพให้กับชุมชน ไม่่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมระยะสั้นหรือระยะยาวมหาวิทยาลัยควรนำผลการวิจัยต่อยอดช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยช่วยวิจัยหาค่าเกณฑ์มาตรฐานสำหรับประเทศไทยก่อนที่จะปล่อยกากสารพิษออกสู่สิ้งแวดล้อมเป็นการช่วยในการเฝ้าระวังไปในตัว ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งสามารถนำผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์เข้าสู่เชิงพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรมได้ มหาวิทยาลัยควรมีส่วนร่วมช่วยในการยกระดับการศึกษาแก่คนในชุมชนที่ว่างงาน หรือไม่ได้รับการศึกษาที่ปะปนอยู่เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship เสนอต่อ สถาบันคลังสมองของชาติ โดยมหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันแม่ข่าย เครือข่ายการวิจัยภาคตะวันออกกลาง en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การวางแผนการศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.subject อุดมศึกษา - - การวางแผน th_TH
dc.title โครงการจัดทำแผนระยะยาว ภาคประชาชนและท้องถิ่น (พื้นที่ภาคตะวันออก) th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative Thailand's Long-Range plan fot Higher Education Development (1990-2004) has been expired in 2001. There is a need to formulate a new Long-Rand Plan for the fifteen years due to rapidly changes in economic, social and cultural acticities, which resulting from internationalization. In order to formulate interfacing educational activities to the economic, social and cultural goals of national development, it is quite important to compile body of knowledge and local wisdom, comments And recommendation from all walks of life and local people to serve as criteria and information to formulate an effective Long-Rang Plan for Higher Education Development. The expected newly formulated plan will be integrated into the successive Five-year Nation Economic and Social Development Plan. This in-turn will build a solid foundation for the local and community development that encourages self responsibility and to be able to catch up with the changing of the world. The Commission on Higher Education has set up Research Network to coordinate and promote research activities that generate new body of Knowledge for the support of national development. The mission of networks is to transfer technology derived from research and innovation to support the county, and local development at the grass-root level, and to maintain economic, social and environmental stabilization. Thus, the strength of established Research Network will be mobilized to compile body of knowledge and local wisdom, comments and recommendation from all walks of life and local people to serve as criteria and information to formulate to formulate an effective Long-Rang Plan for Higher Education Development.The Research Network of the eastern region, which has Burapha University serves as the node of the network, had put effort to compile body of knowledge and local wisdom, comments and recommendation from selection representative samples of local people by using random sampling. The techniques of focus group and in-depth interviewing were employed to compile data and information. Three communities in Chonburi and one community in Rayong province were selectedas target samples. The focus group activities and in-depth interview were done according to the guideline items that had been prepared before field work. All information that compiled from focus group and in-depth interviewing were analyzed and summarized as criteria and guidelines to formulate new Long-Range Plan for Higher Development. It turns out that human resources development is the major topic that most of local people would like to emphasize in order to improve the student capacity and instill students to be intellectual, moralistic, ethical while having creative thinking and pursuing a life-long learning in order to build up competitiveness of the country. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account