dc.contributor.author |
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ |
|
dc.contributor.author |
ธีรนุช ชละเอม |
|
dc.contributor.author |
นลินรัตน์ ชูจันทร์ |
|
dc.contributor.author |
พรรณิภา เกิดน้อย |
|
dc.contributor.author |
อรุณี ส่องประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
วันวิสาข์ สนใจ |
|
dc.contributor.author |
ศิวพร กรมขันธ์ |
|
dc.contributor.author |
ฉวีวรรณ ชื่นชอบ |
|
dc.contributor.author |
ไพูรย์ สุขีชล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:01:12Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:01:12Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1032 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรำไทยบนตารางเก้าช่องต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีการเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายและไม่มีภาวะซึมเศร้า ทำสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกกิจกรรมออกกำลังกายการรำไทยบนตารางเก้าช่อง แบบบันทึกภาวะสุขภาพ และแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (2Q, 9Q) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือการวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงตามวัตถุประสงค์จากคณะผู้วิจัย นำไปทดลองใช้ในผู้สูงอายุ 30 คน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในภาษา แต่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น เนื่องจากเครื่องมือเป็นแบบบันทึกผลตามรายการภาวะสุขภาพ และแบบคัดกรองความซึมเศร้าซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง
โดยคณะผู้วิจัย ณ บ้านของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ
การทดสอบค่าทีแบบอิสระ
ผลการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสัดส่วนลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา การประกอบอาชีพ พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต และพฤติกรรมการออกกำลังกายในปัจจุบัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรำไทยบนตารางเก้าช่องตามแผนการทดลองทุกคน (ร้อยละ 100) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรำไทยบนตารางเก้าช่องอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมการออกกำลังกายมากกว่า 3 วัน ใน 1 สัปดาห์ เป็นการออกกำลังกายระดับเบา และออกกำลังกายแต่ละครั้งนานมากกว่า 20 นาที
การเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักร่างกายลดลง ดัชนีมวลกายลดลง เส้นรอบเอวลดลง และค่าความดันโลหิตซิตโคลิกลดลง มากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีความทนทานของหัวใจและปอดเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตไดแอสโตลิดลดลง น้ำตาลในเลือดลดลง ความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนและขาเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อแขนและขาทั้งสองข้างเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่มีค่าเฉลี่ยระดับโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
หลังการออกกำลังกายด้วยการรำไทยบนตารางเก้าช่อง กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่มีผู้มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ขณะที่ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าร้อยละ 6 และกลุ่มควบคุมมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 8 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรใช้การรำไทยบนตารางเก้าช่องในการส่งเสริมสุขภาพกาย จิตและสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ขึ้นไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ตารางเก้าช่อง |
th_TH |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.subject |
ภาวะสุขภาพ |
th_TH |
dc.subject |
รำไทย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ผลของการรำไทยบนตารางเก้าช่องต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effectsof Thai Dance Using the Nine channels Table to Health Status of the Elderly |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2556 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this quasi experimental study was to test the effect of Thai dance using nine channels tables on health status of the elderly. The samples used were elderly who did not have serious sickness which impeded their abilites to exercise and had no depression. Multi-stage sampling was use to select the sample and assigned them to experiment (n= 50) and control (n=50) group. Data was collected through the use of personal information, exercise using nine channels table and health records. The depression screening tool 2Q and 9Q developed by the Department of Mental Health, Ministry of Public Health was also used in this this study. These instruments were validated by the experts and piloted with other elderly . The reliability of these instruments was not conducted sincethey were merely records and the depression screening tool was regarded as a standard test of Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Data was collected at the homes of the elderly before and after completing the program by the research term. Descriptive statistics and Independent t-test were employed for data analyses. The results were as follows:
The proportion of personal data had no significant difference between the experimental and control groups.
The experimental group had Thai dance using nine channels table behavior to 100 percent. Mean scores of Thai dance using nine channels table behavior was at a good level. Exercise behavior in the experimental group was over three days in one week, light level exercise more than 20 minutes per time.
In the experimental group, a mean score of body weight, body mass index, waist circumference, and systolic bolld pressure had decreased more than the control group but not significantly. A mean score of diastolic blood pressure and blood sugar was significantly decreased more than the control group. A mean score of durability of heart and lung, muscle strength and flexible muscle of arms and legs was significantly increased more than the control group.
After the experiment both groups had no risk of depression. As before, the experimental group had a higher risk of depression at 6 percent and the control groups had higher risk of depression at 8 percent.
The findings of the study suggested that the elderly in the community should use Thai dance using nine channels table behavior to promote the physical, mental and social continuously for at least 8 weeks. |
en |