Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยผสมผสานรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixes Method) การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนารูปแบบการดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ถึง พฤษภาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกทะเบียนประวัติผู้รับบริการ แบบบันทึกทะเบียนประวัติผู้รับบริการ แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย แบบประเมินการประชุมระดมสมอง แบบวิพากษ์รูปแบบการช่วยเหลือ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน (Median) และพิสัย ระหว่างควอร์ไทล์ (Inter Quartile Range) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนารูปแบบ
องค์ประกอบของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการดำเนินการ จำนวน 14 กิจกรรม ส่วนที่สองเป็นกลไกแห่งความสำเร็จในการดำเนินการ ประกอบด้วยคณะบุคคล จำนวน 7 กลุ่ม ส่วนที่สามเป็นส่วนการประเมินผลการดำเนินงานประกอบด้วย กลุ่มของตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพ
ผลการวิพากษ์รูปแบบการให้การปรึกษาผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมที่พัฒนาขึ้น
ความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสอดคล้องกันทุกรายการ โดยกิจกรรมเกี่ยวกับการปฐมนิเทศ และกิจกรรมการส่งต่อ มีความเหมาะสมมากที่สุด (Mdn=4.43)
ลองลงมาเป็นกิจกรรมการให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุน (Mdn=4.38) ส่วนกิจกรรมมีค่ามัธยฐานต่ำสุด ค่ามัธยฐานเท่ากัน 7 รายการ (Mdn=4.27) ความเหมาะสมของกลไกอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกันทุกรายการโดย บุคลากรจากองค์กรอื่น ๆ มีค่ามัธยฐานความเหมาะสมมากที่สุด (Mdn=4.47) ส่วนกลไก มีค่ามัธยฐานต่ำสุด คือบุคลากรจาก ม.บูรพา (Mdn=4.20) ความเหมาะสมของผลการดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสอดคล้องกันทุกรายการ โดยผลในเชิงปริมาณ มีค่ามัธยฐานความเหมาะสมมากที่สุด (Mnd=4.20) ผลงานเชิงคุณภาพมีค่ามัธยฐานต่ำสุด (Mdn=4.11)