DSpace Repository

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author ศรัญญา ยิ้มย่อง
dc.contributor.author ธันย์ชนก ศิริรักษ์
dc.contributor.author สิริกุล กวมทรัพย์
dc.contributor.author ณิษา สิรนนท์ธนา
dc.date.accessioned 2023-10-26T06:10:11Z
dc.date.available 2023-10-26T06:10:11Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10279
dc.description.abstract ในกระบวนการผลิตปลามักมีเศษวัสดุเหลือทิ้งอย่างเช่นเกล็ดปลาซึ่งเป็นแหล่งของคอลลาเจน ดังนั้น จึงทำการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมี การสกัดคอลลาเจนที่ละลายได้ในกรดอ่อนร่วมกับคลื่นไมโครเวฟ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเล โดยเกล็ดปลากะพงขาว (Lates calcarifer) เกล็ดปลาเก๋า (Epinephelus malabaricus) และเกล็ดปลาช่อนทะเล (Rachycentron canadum) มีปริมาณโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 48.13 - 55.05 และมีปริมาณไขมัน อยู่ในช่วงร้อยละ 0.05 - 0.07 ปริมาณกรดไขมันในเกล็ดปลาทะเล พบองค์ประกอบของกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs) มากที่สุด อยู่ในช่วง 39.59 - 48.91 %TFA โดยมีกรดปาล์มิติก (16:0) และกรดเฮปตาเดคาโนอิก (17:0) เป็นชนิดเด่น ตามด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs; 3.10 - 8.99 %TFA) และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs; 1.09 - 4.62 %TFA) การวิเคราะห์สารสกัดคอลลาเจนด้วยกรดอ่อนร่วมกับคลื่นไมโครเวฟด้วยเทคนิค FTIR พบจำนวน 5 พีค ได้แก่ amide A พบที่เลขคลื่น 3281.10 cm-1 amide B พบที่เลขคลื่น 2935.61 cm-1 amide I พบที่เลขคลื่น 1628.22 cm-1 amide II พบที่เลขคลื่น 1547.99 cm-1 และ amide III พบที่เลขคลื่น 1237.76 cm-1 กรดอะมิโนในสารสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเล พบกรดอะมิโนที่มีปริมาณสูง 3 อันดับ แรก คือ ไกลซีน โพรลีน และ อะลานีน และการศึกษารูปแบบโปรตีนด้วยเทคนิค SDS–PAGE เปรียบเทียบกับคอลลาเจนบริสุทธิ์พบว่าคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเลเป็นชนิดที่ 1 การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS ของสารสกัดหยาบคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเล พบว่า การสกัดด้วยกรดอ่อนร่วมกับคลื่นไมโครเวฟให้สารสกัดคอลลาเจนที่มีฤทธิ์ดีกว่าการสกัดด้วยกรดอ่อนร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิค โดยสารสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวมีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดี มีค่า IC50 เท่ากับ 12.75 และ 14.31 mg/ml ในขณะที่ สารสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลาช่อนทะเลมีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS ได้ดี มีค่า IC50 เท่ากับ 0.38 และ 3.11 mg/ml ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสารสกัดคอลลาเจนที่ละลายได้ในกรดอ่อนจากเกล็ดปลากะพงขาวและเกล็ดปลาช่อนทะเล สามารถเป็นแหล่งทางเลือกของการผลิตคอลลาเจนที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอลลาเจน th_TH
dc.subject อนุมูลอิสระ th_TH
dc.title ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทะเล th_TH
dc.title.alternative Free radical scavenging activity of marine fish scales collagen th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2566 th_TH
dc.description.abstractalternative The fish processing by-products produce large amounts of fish waste such as scales of fish which are rich in collagen. Chemical composition, acid-soluble collagen (ASC) extraction with the microwave-assisted process, and free radical scavenging activity of marine fish scales collagen were investigated. Fish scales of Lates calcarifer, Epinephelus malabaricus and Rachycentron canadum showed the total protein ranging from 48.13 to 55.05 % and the lowest total lipids ranged between 0.05 and 0.07 %, respectively. Marine fish scales contained total saturated fatty acid (SFAs) ranging from 39.59 to 48.91 %TFA, palmitic acid 16:0 and heptadecanoic acid 17:0 were the dominant SFAs, following monounsaturated fatty acids (MUFAs; 3.10 - 8.99 %TFA), and polyunsaturated fatty acids (PUFAs; 1.09 - 4.62 %TFA). The chemical structural property of ASC was characterized by Fourier-transform infrared (FTIR) spectroscopy appearing with five spectral intervals absorption of amide A (3281.10 cm-1), amide B (2935.61 cm-1), amide I (1628.22 cm-1), amide II (1547.99 cm-1), and amide III (1237.76 cm-1 ), respectively. The amino acid profile of ASC had glycine as the major amino acid followed by proline and alanine, respectively. The SDS-PAGE pattern showed the typical features of type I collagen. In addition, ASC with the microwave-assisted process showed good scavenging activities on 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radicalof L. calcarifer (IC50 12.75 and 14.31 mg/mL, respectively) and 2,2-azino-bis-(3-ethylbenzothiazoline)-6-sulfonic acid (ABTS) radical of R. canadum (IC50 0.38 and 3.11 mg/mL, respectively). Therefore, the ASC of L. calcarifer and R. canadum can be used as an alternative source of collagen with antioxidantproperties th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account