Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) น้ำตาลหลังอดอาหาร (FBS) และการวัดสัดส่วนร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกล่องข้าวควบคุมสัดส่วนอาหารเปรียบเทียบกับการให้คำปรึกษาทางด้านโภชนบำบัด โดยมีการศึกษาความจำเพาะเจาะจงของขนาดกล่อง
ข้าวควบคุมสัดอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการพลังงานในผู้ป่วยแต่ะละราย ต่อการควบคุมการ
รับประทานอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องมือที่ช่วยในการควบคุม
สัดส่วนอาหาร ในการให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อกล่องข้าวควบคุมสัดส่วนอาหารและการได้รับคำปรึกษาทางด้านโภชนบำบัดโดยทั่วไป ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครที่ใช้กล่องข้าวควบคุมสัดส่วนอาหารและการได้รับคำปรึกษาด้านโภชนาการมีระดับน้ำตาลสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลสะสมระหว่างกลุ่ม ในส่วนของสัดส่วนร่างกายได้แก่ น้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน และวลกล้ามเนื้อ ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ในส่วนของระดับความหิว ความอิ่มของอาสาสมัครพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้กล่องข้าวควบคุมสัดส่วนอาหารอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับ พบว่าอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มได้รับพลังงานจากอาหาร คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่ลดลงจากการควบคุมการรับประทานอาหาร แต่ในทางกลับกันกลับรับประทานโปรตีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สรุปผลการวิจัยได้ว่า การควบคุมสัดส่วนการรับประทานอาหารและการได้รับคำปรึกษาทางด้านโภชนาการที่เหมาะสม ล้วนมีส่วนสำคัญและส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน