Abstract:
การสร้างระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่สำคัญประเด็นหนึ่งในการส่งเสริมการซื้อและการบริโภคสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและจากการทบทวนวรณกรรมที่ผ่านมา พบว่ามีประเด็น 2 ประเด็น ที่ยังมีงานวิจัยทำการศึกษาอยู่ไม่มากนัก โดยประเด็นแรกคือตัวแบบที่ง่ายของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดลอ้มของผู้บริโภคที่มีการพิจารณาถึงตัวแปรต้นและตัวแปรตามของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและประเด็นที่สองคือยังมีงานวิจัยอยู่ไม่มากนักที่นำเสนอตัวแปรทัศนคติของผู้บริโภคต่อราคาสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแปรกำกับด้วยการนำเสนอตัวแบบความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและการทดสอบเชิงประจักษ์ของตัวแบบนี้ด้วยข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบอย่างง่ายของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคมีระดับความเข้ากันได้ของตัวแบบอยู่ในระดับที่เหมาะสมและพบความสัมพันธ์หลายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในตัวแบบนี้ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือผลการวิจยัพบค่าดัชนีความเข้ากันได้ดังนี้ดังนี้คือ ค่า χ2/ df ที่2.282 และ ค่า IFI, CFI, NFI และ TLI ที่เกินค่า 0.88 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้ากันได้ของตัวแบบอยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในตัวแบบนี้พบว่า อิทธิพลของตัวแปรนี้ ซึ่งคือ แรงจูงใจเชิงจิตใจตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจเชิงสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดลอ้มและแรงจูงใจเพื่อสังคมด้านรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปยังตัวแปรความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขณะที่ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของตัวแปรทัศนคติต่อราคาสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแปรกำกับส่งผลกระทบต่อ ผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคไปยังตัวแปรตามซึ่งคือตัวแปรความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและตัวแปรการบอกต่อถึงสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขณะที่ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่อความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในฐานะตัวแปรกำกับไปยังผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคไปยังตัวแปรตาม ด้วยผลการวิจัยโดยสรุปข้างต้น งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการอภิปรายผลการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัยในเชิงทฤษฎี ประโยชน์ของการวิจัยเชิงการจัดการและการนำเสนอทิศทาง สำหรับการทำวิจัยในอนาคต