Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ดําเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษา สู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารการศึกษา จํานวน 17 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จํานวน 12 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยนําเข้า ได้แก่ คน เงิน การบริหารจัดการและวัสดุอุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ด้านการนําองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดวิสัยทัศน์และวางแผนการดําเนินงานของสถานศึกษาครอบคลุมทุกฝ่าย มีการสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ผู้เกี่ยวข้องในการดําเนินงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา มีการใช้หลักธรรมมาภิบาลในการบริหารงานและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการจัดกระบวนการจัดทําและพัฒนากลยุทธ์ของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทําโครงการกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการวางแผนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ด้านการจัดการกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ในระบบงาน มีการจัดกระบวนการทํางานเพื่อให้บริการที่สร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ มีการจัดกระบวนการทํางานที่ควบคุมคุณภาพของการทํางานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างบรรยากาศในการทํางานที่ดีด้วยการสร้างความผูกพันของผู้ปฏิบัติงานและการสร้างแรงจูงใจในสถานศึกษา มีการเอื้ออํานวยให้บุคลากรได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้านการให้ความสําคัญกับผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดความต้องการและความคาดหวังของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างความผูกพันและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ ดําเนินการจัดทําแผนการวัดผลการวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการดําเนินการวัดผลและวิเคราะห์ผลการศึกษา โดยมีการทบทวนการดําเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด บุคลากรมีความพร้อมต่อการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงการวางแผนการวิเคราะห์ผลอย่างต่อเนื่อง ด้านการมุ่งผลลัพธ์การดําเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ ดําเนินงานโดยมีผลลัพธ์เป็นที่ต้องการของชุมชน มีผลการดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และเป็นที่ยอมรับต่อผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและการบริการ จากการดําเนินการตามกระบวนการนําไปสู่ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับผู้บริหาร ครู บุคลากรมีการพัฒนาการดําเนินงาน และนักเรียนมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อตรวจสอบรูปแบบโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยังคงให้มีการดําเนินการใช้องค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน มาเป็นแนวทางของรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน