Abstract:
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวการหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้ม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มาฟอกเลือด โรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 115 คน สุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบประเมินภาวะโรคร่วม แผ่นวัดสายตาระบบตัวเลขระยะใกล้การทดสอบการทรงตัวขณะก้าวเดินของผู้สูงอายุแบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินความกลัวการหกล้มฉบับภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนแรงค์ออเดอร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างกลัวการหกล้ม ร้อยละ 23.47 และพบว่าความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, การรับรู้ภาวะสุขภาพและค่าครีอะตินิน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (rpb= .489, p< .001, rs=.321, p< .001, rpb= .308, p< .001 ตามลำดับ) ค่าพาราไทรอยด์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำ (rpb= .178, p=.030) อายุความสามารถในการทรงตัวและอาการเวียนศีรษะ มี ความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลาง (rs= -.421, p< .001, rs= -.409, p< .001, rs=-.324, p< .001 ตามลำดับ) ความสามารถในการมองเห็นมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (rpb= -.261, p= .002) ส่วนเพศ ภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า ภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด ประสบการณ์หกล้ม ค่าแคลเซียมและดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้ม บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับความกลัวการหกล้ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รับรู้ ภาวะสุขภาพและทรงตัวไม่ดีทำกิจวัตรได้น้อยเวียนศีรษะ มีค่าครีอะตินิและพาราไทรอยด์มากผิดปกติ และมองเห็นไม่ดีโดยสามารถนำผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อลดความกลัวการหกล้มหรือส่งเสริมความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังรยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อไป