DSpace Repository

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากภูมิปัญญาถักทอผสมเส้นใยก้านโหม่งต้น จากชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author จุฬาวรรณ ดีเลิศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:57:02Z
dc.date.available 2023-09-18T07:57:02Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10249
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยก้านโหม่งของต้นจากผสมกับการทอผ้าของชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ทดลองนำเส้นใยจากเส้นใยก้านโหม่งของต้นจากเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์รวมจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากภูมิปัญญาทอผ้าผสมเส้นใยก้านโหม่งต้นจากชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาการใช้ประโยชน์และทดลองนำเส้นใยจากก้านโหม่งของต้นจากผสมกับภูมิปัญญาการทอผ้าจากชุมชนอ่างเตย จากการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่ายแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ กระบวนการเกี่ยวกับเส้นใยและลายผ้าภูมิปัญญาทอผ้า ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนอ่างเตย พบว่า มีความสนใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋ามากที่สุด ร้อยละ 40 พฤติกรรมในการเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามากที่สุด กระเป๋าเป้คิดเป็นร้อยละ 12 กระเป๋ามีสายคล้องข้อมือคิดเป็นร้อยละ 9 กระเป๋าทรงนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 8 กระเป๋าทรงจีบ คิดเป็นร้อยละ 7 กระเป๋าทรงสี่เหลี่ยม คิดเป็นร้อยละ 7 และความพึงพอใจเกี่ยวกับสีของผลิตภัณฑ์กระเป๋า วรรณะสีร้อนมากที่สุด สีส้มเหลืองร้อยละ 42 วรรณะสีเย็น มากที่สุด สีเขียวร้อยละ 38 ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย 3) ด้านความงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.31)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การทอผ้า -- การออกแบบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject การทอผ้า
dc.title การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากภูมิปัญญาถักทอผสมเส้นใยก้านโหม่งต้น จากชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternative The product design of using nd decortions with the weve knowledge from Nip plm fiber Angtei community, Thtkieb, Chchoengso
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research are 1) to study the using of Nipa Palm Fiber with the intellect of weaving from Angtei community, Thatakieb, Chachoengsao, 2) to test the Nipa Palm Fiber to be guidance in product’s development, and 3) to design for general use and decoration process. The sample groups are the academic, traders, and product’ s interested with the amount of 106. The research tools are evaluation form. The research statistics are percentage, mean and standard deviation. The result revealed that the Product design of general use and decoration from Nipa Palm Fiber with the intellect of weaving from Angtei community, Thatakieb, Chachoengsao consist of 3 parts as follow; part 1, studying the useful and test to take Nipa Palm Fiber apply with the intellect of weaving from Angtei community. From survey and interview some trader and supplier, the results are 2 types, which are fiber processing and printed of fiber. Part 2, target behavior analysis to buy Angtei’s product found that the most they are interested in pattern of bag’s product about 40 percentage, the backpack is 12 percentage, the hand bag is 9, the school bag is 8 percentage, the pleated bag is 7 percentage, and the tote bag is 7 percentage. The satisfaction to color are as follow; the most is warm color with orange in 42 percentage, 38 percentage of green color. Part 3, the interested person in product satisfaction analysis were 3 parts as follow; 1) endemic nature, 2) useful weave, and 3) beauty, the factor total average is high level (x̄= 4.31).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account