DSpace Repository

การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศจากวัสดุไบโอคอมพอสิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor ต่อศักดิ์ กิตติกรณ์
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author พรทิพย์ ธรรมจริยาพันธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:56:59Z
dc.date.available 2023-09-18T07:56:59Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10243
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศจากวัสดุไบโอคอมพอสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หาอัตราส่วนเส้นใยเซลลูโลสที่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นวัสดุสร้างผลิตภัณฑ์ โดยผ่านการทดสอบสมบัติเชิงกล 2) วิเคราะห์หาแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ และ 3) สังเคราะห์ออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จากวัสดุไบโอคอมพอสิตเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางเชิงนิเวศ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรปริมาณเส้นใยที่มีการแปรค่า 10, 20, 30 และ 40 ร้อยละโดยน้ำหนัก และอิทธิพลของสารดัดแปรเส้นใยชนิด 3-(Trimethoxysilyl) propyl methacrylate มีผลต่อสมบัติเชิงกลของวัสดุไบโอคอมพอสิต โดยค่าความต้านทานต่อการแปรรูป หรือมอดุลัสเพิ่มขึ้น ตามลำดับของปริมาณเส้นใยในสูตร 20, 30 และ 40 ร้อยละโดยน้ำหนักประกอบกับผลการวิเคราะห์หาแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศให้ความสําคัญ 3 ด้าน คือ วัสดุส่วนประกอบ และการเชื่อมต่อที่นำไปสู่การออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเชิงนิเวศ 3 ประเภท ดังนี้ 1) สูตร PLA/Sisal 20 wt% ใช้ผลิตเป็นผนังฉากกัน ประเภทไม่รับน้ำหนัก 2) สูตร PLA/Sisal 30 wt% ใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประเภทเฝือกแข็ง และ 3) สูตรPLA/Sisal 40 wt% ใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject ผลิตภัณฑ์ -- การออกแบบ
dc.title การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศจากวัสดุไบโอคอมพอสิต
dc.title.alternative Ecologicl product design from biocomposite mterils
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to 1) analyse the optimum cellulose fibre weight ratio for the benefits of utilising materials in product manufacturing through mechanical testing. 2) evaluate ecological product design guidelines. and3) design new proposed products from biocomposite materials to comply with the ecological approach. The research results were found that fibre content variables in formulas10%, 20%, 30% and 40% by weight and the influence of fibre modifier 3-(Trimethoxysilyl) propyl methacrylate affects the mechanical properties of biocomposite materials. The elastic modulus was increased respectively according to the amount of fibre added to formulas 20%, 30% and 40% by weight. Lastly, the ecological product design guidelines revealed3 important aspects: material, component and fastener and connection, which lead to three ecological products based on structural strength as results1) PLA/Sisal 20 wt% Non-loadbearing wall/ Divider wall 2) PLA/Sisal 30 wt% Elbow resting splint and 3) PLA/Sisal 40 wt% Furniture.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account