Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการกระตุ้นประสานสัมพันธ์ตาและมือ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมการกระตุ้นประสานสัมพันธ์ตาและมือ จากกิจกรรมทดสอบความจำขณะคิดด้านภาพและมิติสัมพันธ์รวมทั้งศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง (คลื่นอัลฟ่า คลื่นเบต้า) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยจากชมรมผู้สูงอายุและคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 คน อายุระหว่าง 60-75 ปีแบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โปรแกรมการฝึกมี 3 ช่วง ช่วง ละ 27 นาที จำนวน 14 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบทดสอบ Psychology Experiment Building Language (PEBL) ด้วย Corsi Block-Tapping Task, Emotiv EPOC EEG Headset, MMSE, PHQ-9, WHOQOL และ ST-5 การวิเคราะห์ทางสถิติใช้การทดสอบทีแบบอิสระและไม่ อิสระ ผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมการกระตุ้นประสานสัมพันธ์ตาและมือมีการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกโปรแกรมอย่างเป็นประจำ พบว่า มีคุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้น ผลการทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น (MMSE) ลดลง ระดับความเครียดและภาวะ ซึมเศร้าลดลง และ มีความจำขณะคิดด้านภาพและมิติสัมพันธ์โดยมีช่วงของความจำ (Memory span) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีคลื่นอัลฟ่าและคลื่นเบต้าที่สมองบริเวณส่วนหน้า ส่วนพา ไรทัล และส่วนท้าย สูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ดังนั้นสรุปได้ว่า โปรแกรมการกระตุ้นประสานสัมพันธ์ตาและมือ สามารถเพิ่มความจำขณะคิดด้านภาพและมิติสัมพันธ์ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2