DSpace Repository

ผลของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนที่มีต่อความผูกพันของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การวิจัยแบบผสานวิธี

Show simple item record

dc.contributor.advisor พูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author นุธิดา ทวีชีพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:56:54Z
dc.date.available 2023-09-18T07:56:54Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10229
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนที่มีต่อความผูกพันของนักเรียนระดับประถมศึกษา ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล และหาแนวทางการลดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีจำนวน 1,200 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูประจำชั้น และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 10 โรงเรียน ๆ ละ 13 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยได้ค่าดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ดังนี้ค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 30.41 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 23 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .14 ค่า RMSEA เท่ากับ .02 ค่า RMR เท่ากับ .01 ค่า SRMR เท่ากับ .01 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .99 ค่า CFI เท่ากับ .99 และค่า NNFI เท่ากับ .99 จึงสรุปได้ว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยที่ตัวแปร พฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียน การรับรู้การสนับสนุนจากโรงเรียน และการรับรู้การยอมรับความแตกต่าง สามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันของนักเรียนได้ร้อยละ 75 และผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความแปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ถูกกลั่นแกล้ง โดยแนวทางการลดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียน คือ ครูและผู้ปกครองต้องให้ความรัก ความเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่สอดส่องความประพฤติของนักเรียน รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject นักเรียน -- พฤติกรรม
dc.subject นักเรียนประถมศึกษา
dc.title ผลของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนที่มีต่อความผูกพันของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การวิจัยแบบผสานวิธี
dc.title.alternative Effects of school bullying behvior on connectedness of primry school students : mixed method reserch design
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research is the mixed-method study. It aimed to develop the causal relationship model of school bullying behavior on connectedness among elementary school students, to investigate the inconsistency of the model, and to figure out how to reduce bullying behavior in the school. In the quantitative studies, the sample was 1,200 students from grades 1-6 from the Chonburi Primary Educational Service Area Office. They were selected by stratified random sampling. The research instrument was the rating-scale questionnaire. In the qualitative study, the sample group consisted of educational institute directors, teachers, and students' parents. They were selected by purposive sampling from 10 schools (13 people from each school). In this stage, a semi-structured interview form was used as the research instrument. The result showed that the developed model was consistent with the empirical data, considering the statistical chi-square of 30.41, the degree of freedom (df) of 23, the probability (p) of .14, the RMSEA of .02, the RMR of .01, the SRMR of .01, the GFI of .99, the AGFI of .99, the CFI of .99, and the NNFI of .99. All variables accounted for 75% of the variance in student connectedness, and the variance test of the causal relationship model was differs depending on the group involved in the incident was bullied. Regarding the guidelines to reduce bullying behavior in schools, teachers and parents must provide love, understanding, care, and watch over the behavior of students, and as well as continuing to build good relationships with students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account